วันพฤหัสบดีที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2552

ไปแอ่วลาวกันเต๊อะ

เสร็จซะที ทางรถไฟสายประวัติศาสตร์

ข้อมูลจาก http://www.thairath.co.th/offline.php?section=hotnews&content=126429


พระเทพฯ เสด็จฯเปิดรถไฟ ไทย-ลาว [6 มี.ค. 52 - 05:17]

เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 5 มี.ค. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จประทับรถไฟพระที่นั่งจากสถานีรถไฟอุดรธานี มายังสถานีรถไฟหนองคาย ในการนี้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี นายโสภณ ซารัมย์ รมว.คมนาคม นายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศนายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง รมว.อุตสาหกรรม คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รมว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นายนิพนธ์ พร้อมพันธุ์ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี และนายกวี กิตติสถาพร ผวจ.หนองคาย นำข้าราชการ ทหาร ตำรวจ นักเรียน นักศึกษา ประชาชนในจังหวัดหนองคาย เฝ้ารับเสด็จอย่างเนืองแน่น ขณะที่ฝ่ายลาวนำโดย นายสมมาด พนเสนา รมว.โยธาธิการและขนส่ง นายลัดตะนะมะนี คุนพิวง ปลัดกระทรวงโยธาธิการและขนส่ง นายกอบแก้ว หลวงโดด รองอธิบดีกรมพิธีการทูต นายสมปอง พนเสนา รองหัวหน้าองค์การรถไฟลาวนำคณะเฝ้ารับเสด็จด้วย

 

หลัง จากนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กราบบังคมทูลถวายรายงานความเป็นมาของการเปิดการเดินรถไฟสายนี้ว่า รัฐบาลไทยและรัฐบาลลาวได้ร่วมลงนามสัญญาว่าด้วยการเดินรถไฟร่วมกัน ระหว่างสองประเทศ และให้การรถไฟของทั้งสองฝ่ายร่วมกันกำหนดจำนวนขบวนรถโดยสารและตารางการเดิน รถ โดยไทยได้ให้ความ ช่วยเหลือรัฐบาลลาวในการก่อสร้างทางรถไฟ จากช่วงกึ่งกลางสะพานมิตรภาพไทย-ลาว ถึงสถานีท่านาแล้ง ระยะทาง 3.5 กิโลเมตร วงเงิน 197 ล้านบาท การเดิน รถไฟระหว่างประเทศทั้งสองนี้จะเป็นการพัฒนาการขนส่งระบบรางและศักยภาพการขน ส่งในอนาคต ทั้งด้านผู้โดย สารและสินค้า รวมทั้งการพัฒนาเครือข่ายระบบการขนส่งในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน นอกจากนี้ การรถไฟแห่งประเทศ ไทยได้จัดสร้างห้องสมุดของการรถไฟฯ ที่บริเวณสถานี รถไฟหนองคาย เพื่อประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้าและเป็นแหล่งเรียนรู้ของประชาชนชาวหนองคาย ด้วย

 

จาก นั้นสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ได้เสด็จฯ กดปุ่มแพรคลุมป้ายเปิดห้องสมุดการรถไฟฯ และทอดพระเนตรนิทรรศการภายในห้องสมุด แล้วเสด็จฯไปยังขบวนรถไฟพระที่นั่ง ทรงลงพระนามาภิไธยในสมุดลงทะเบียนรายพระนามผู้โดยสารรถไฟขบวนประวัติศาสตร์ เที่ยวปฐมฤกษ์ ทรงลั่นระฆังปล่อยขบวนรถไฟ และในเวลา 10.05 น. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เสด็จฯโดยรถไฟพระที่นั่งถึงสถานีท่านาแล้ง เมืองหาดทรายฟอง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยมีท่านบุนยัง วอละจิด รองประธานประเทศ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว นายสมมาด พนเสนา รมว.โยธาธิการและขนส่ง คณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องของลาว นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะและคณะรัฐมนตรีไทย เฝ้ารอรับเสด็จที่ประตูทางลงรถไฟพระที่นั่ง

 

นาย สมมาด พนเสนา รมว.โยธาธิการและขนส่ง กล่าวรายงานว่า รัฐบาลลาวและประชาชนลาว ขอขอบคุณรัฐบาลไทยและประชาชนไทย ที่สนับสนุนส่งเสริมให้ โครงการฯ นี้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี รถไฟสายนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งของประเทศลาว คือเป็นความสัมพันธ์อันดีระหว่างรัฐบาลลาวกับรัฐบาลไทย เป็นรถไฟสายประวัติศาสตร์ เนื่องจากเป็นรถไฟสายแรกของลาว มีความหมายสำคัญแม้จะมีระยะทางเพียง 3.5 กม.ก็ตาม ในอนาคตจะมีการขยายเส้นทางเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะที่เหลืออีก 9 กม. ก็จะถึงนครเวียงจันทน์ เชื่อว่าจะได้รับการสนับสนุนส่งเสริม จากรัฐบาลไทยและประชาชนคนไทยเป็นอย่างดี เส้นทางรถไฟสายนี้ในอนาคตจะมีการขยายเพิ่ม เพื่อเชื่อมต่อไปยังประเทศเพื่อนบ้านอื่นๆ จะทำให้ประเทศลาวซึ่งไม่มีทางออกสู่ทะเล สามารถเป็นตัวเชื่อมและเป็นทางผ่านไปยังประเทศอื่นๆได้ จึงเป็นความภาคภูมิใจของชาวลาว ชาวไทย ตลอดจนประเทศอื่นๆ ทั้งในอนุภูมิภาคและภูมิภาคอื่นๆอีกด้วย ในฐานะตัวแทนรัฐบาลลาวขอขอบคุณรัฐบาลไทยที่สนับสนุนโครงการนี้จนสำเร็จ ลุล่วงด้วยดี และขอรับมอบโครงการนี้ไว้เพื่อดำเนินการต่อไป จากนั้นสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พร้อมด้วยท่านบุนยัง วอละจิด รองประธานประเทศ สปป.ลาว ร่วมเป็นประธานเปิดการเดินรถไฟไทย-ลาว อย่างเป็นทางการ แล้วทรงปลูกต้นลีลาวดี และฉายพระรูปร่วมกับคณะฝ่ายลาวเป็นที่ระลึก จากนั้นเสด็จฯโดยรถยนต์พระที่นั่งที่ทางการลาวจัดถวาย เสด็จฯประกอบพระกรณียกิจในสปป.ลาว

 

นาย ทวีป เสือรอด นายสถานีรถไฟหนองคาย กล่าวว่า หลังเสร็จพิธีเปิดแล้วจะยังไม่สามารถให้บริการเดินรถไฟได้ เนื่องจากยังมีข้อติดขัดเล็กน้อย ต้องมีการพูดคุยกับทั้งสองฝ่ายในข้อปฏิบัติ รายละเอียดปลีกย่อยอีกหลายเรื่อง หากมีการตกลงเจรจาเป็นที่เข้าใจตรงกันแล้วจึงจะเปิดให้บริการเดินรถไฟอย่าง เต็มรูปแบบ เบื้องต้นกำหนดขบวนรถไฟวิ่งบริการเป็นประจำทุกวัน วันละ 2 เที่ยว หรือ 4 ขบวน คือ ออกจากสถานีหนองคายเวลา 10.00 น. ถึงสถานีท่านาแล้ง จากนั้นเวลาประมาณ 11.00 น. ออกจากสถานีท่านาแล้งกลับหนองคาย ส่วนช่วงบ่ายเวลา 16.00 น. ออกจากสถานีหนองคายถึงสถานีท่านาแล้ง จากนั้นเวลาประมาณ 17.00 น. ออกจากสถานีท่านาแล้ง กลับหนองคาย ใช้เวลาเดินรถไฟในแต่ละช่วง 15 นาที อัตราค่าโดยสารตู้นอนคนละ 50 บาท ตู้ปรับอากาศ 30 บาท ชั้น 2 ธรรมดา คนละ 20 บาท และทุกคนต้องทำหนังสือผ่านแดนก่อนเดินทางทุกครั้ง

 

ส่วน บรรยากาศภายหลังพิธีเปิดการเดินรถไฟเสร็จสิ้นลง ประชาชนที่มาเฝ้ารับเสด็จต่างพากันเข้าแถวซื้อตั๋วโดยสารรถไฟสายประวัติ ศาสตร์เป็นที่ระลึก ที่การ รถไฟแห่งประเทศไทยจัดทำขึ้นเป็นพิเศษในงาน โดยจำหน่ายชนิดราคา 100 บาทเพียงประเภทเดียวและไม่ถึง 20 นาทีตั๋วก็ขายหมดเกลี้ยง และยังมีประชาชนอีกจำนวนมากต้องการซื้อตั๋วโดยสารที่ระลึกนี้เก็บไว้ นอกจากนี้ยังให้ความสนใจซื้อแสตมป์และโปสต์การ์ดที่ไปรษณีย์ หนองคายนำมาจำหน่าย ในราคาแสตมป์ดวงละ 3 บาท เป็นพระฉายาลักษณ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ภาพสะพานมิตรภาพไทย- ลาว และภาพรถไฟสายหนองคาย-ท่านาแล้ง ด้านไปรษณีย์ลาวก็ได้นำแสตมป์ของลาวมาจำหน่ายให้เป็นของที่ระลึกภายในงาน ด้วย ได้รับความสนใจจากประชาชนอย่างมาก

 

วัน เดียวกัน สำนักข่าวเอเอฟพี รายงานถึงการเปิดเดินรถไฟอย่างเป็นทางการ เชื่อมต่อไทย-ลาว ครั้งแรก โดยมีสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯเป็นองค์ประธานในพิธีเปิด พร้อมเสด็จพระราชดำเนิน ประทับบนขบวนรถไฟขบวนแรก ซึ่งก่อนพิธีเปิด 1 วัน โฆษกกระทรวงต่างประเทศของลาว แถลงว่าเส้นทางรถไฟ แห่งนี้ ถือว่าสำคัญต่อลาวอย่างมาก เพราะในอดีตการเดินทางหรือขนส่งจากลาว อาศัยแค่รถบรรทุกและมีค่า ใช้จ่ายแพงมาก ต่อแต่นี้ไป ค่าใช้จ่ายคงน้อยลงมาก ข่าวระบุด้วยว่าเส้นทางรถไฟดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งของแผนสร้างทางรถไฟเชื่อมต่อเอเชีย มุ่งตรงสู่ดินแดนตะวันตก อย่างตุรกีและรัสเซีย กับฝังตะวันออก คือเวียดนามและเกาหลีใต้ โดยมีสหประชาชาติหรือยูเอ็นให้การสนับสนุน


29 ความคิดเห็น:

  1. นั่งรถบัสง่ายกว่า

    แต่ก็น่าลองนะ หนุกๆ

    ตอบลบ


  2. พี่ให้เพื่อนซื้อตั๋ว พิเศษ ที่เขาใช้เป็นบัตรที่ระลึกแล้ว ใบละ 100 บาท หรือไงเนี่ย

    เห็นแล้ว คิดถึงบ้านที่หนองคาย รู้สึกตลอดว่า ลาว ก็เป็นบ้านอีกหลังกนึ่ง
    แค่มีแม่น้ำ กั้นเท่านั้นเอง

    บ้านเพื่อนพี่ อยู่ หน้า สถานีรถไฟเลยนะ

    ตอบลบ
  3. ถ้าเป็นบ้านม้อยนะ
    แม่ม้อยต้องขายอะไรๆๆๆๆ หลายๆ อย่าง

    อิอิ

    มันน่านั่งนะ รถขบวนนี้

    ตอบลบ
  4. รอไปเที่ยวตุรกีทางรถไฟแล้วกัน

    ตอบลบ
  5. เมื่อวานดูข่าวนี้ทางโทรทัศน์ ท้ายข่าวเค้าบอกว่าจีนก็จะพิืจารณาสร้างทางรถไฟมาภูมิภาคนี้เหมือนกัน
    ก็นึกในใจว่า ต๊ายตาย
    อาเซียนก้าวใกล้สหภาพยูโรปเข้าไปทุกทีแระ

    ตอบลบ
  6. แต่สงสัยเรื่องขนาดรางว่ะ
    ถ้ารางไม่เท่ากันเขาจะใช้วิธีอะไร เปลี่ยนรถ หรือ รถมีล้อสองชุด หรือ ล้อปรัลความกว้างได้ หรือว่า มันเท่ากันอยู่แล้ว

    ตอบลบ
  7. เออจิง รางเราก็ไซส์ประหลาด

    ตอบลบ
  8. เรื่องนี้น่าสนใจ
    Dual gauge allows trains of different gauges to share the same track. This can save considerable expense compared to using separate tracks for each gauge, but introduces complexities in track maintenance and signalling, as well as requiring speed restrictions for some trains. If the difference between the two gauges is large enough, for example between 4 ft 8 in (1,422 mm) and 3 ft 6 in (1,067 mm), three-rail dual-gauge is possible, but if the difference is not large enough, for example between 3 ft 6 in (1,067 mm) and 1,000 mm (3 ft 3⅜ in), four-rail dual-gauge is used. Dual-gauge rail lines are used in the railway networks of Switzerland, Australia, Argentina, Brazil, North Korea, Tunisia and Vietnam.

    ตอบลบ
  9. ดูแผนที่แล้ว ในแถบนี้ไม่มีปัญหา แต่ถ้าจะเข้าอินเดีย จีน ยุโรป คงต้องเลือกว่าจะทำไง

    ตอบลบ
  10. มีไปหลวงพระบางป่ะ
    พอดีไม่ได้ซื้อตั๋วโปร บางกอกแอร์ง่ะ T.T

    ตอบลบ
  11. ใจเย็นเจ้
    รถไฟนี่ยังไปไม่เถิงเวียงจันทร์เรย

    ป.ล. HS ใหม่พี่เทพโคตรเท่เรยอ่า

    ตอบลบ
  12. วันใดขาดฉันแล้วเธอจะรู้สึก

    ตอบลบ
  13. วันใดสำนึกแล้วเธอจะเสียจายยย

    ตอบลบ
  14. เว้ยยยยยยยยยยย ต่อได้ด้วย

    ตอบลบ
  15. เมื่่อไหรจะสำนึกซะที????

    ตอบลบ
  16. เอิ่ม ลองไปกระซิบถามเสียงแผ่วๆ ที่ข้างหูเค้าคืนนี้นะฮะ
    อย่าลืมแตะน้ำหอมนิดนึงนะ ที่ซอกหูตัวเอง

    ตอบลบ
  17. ฮะ ฮะ
    พูดอย่างนี้ื ท่าทางทะเลมันจะมีน้อง(เร็วๆ นี้)ว่ะ

    ตอบลบ
  18. เฮ้ยยยยยยยยยยยยย!

    ตอบลบ
  19. น่านั่งไป แต่กว่าจะนั่งไปถึงหนองคาย หมดอารมณ์เที่ยวลาวพอดีมั้งเนี่ย

    ตอบลบ
  20. มันก็ต้องบิลท์อารมณ์กันเป็นพักๆ นะฮะน้อง

    ตอบลบ
  21. น่าไปเน้อพี่ม้อย นั่งกัน หัวบาน ตูดบาน 55^^

    ตอบลบ
  22. ก็แต่งงาน มีลูก เลี้ยงลูกกันบนรถไฟ-ใช้ชีวิตบนรถไฟเลยไง น้องนุ่น
    ไงๆ เราก็ต้องใช้ชีวิตอยู่แล้น
    ^_^

    ตอบลบ
  23. ดีดี เพิ่งไปได้เห็น

    ตอบลบ