อัศจรรย์จนหัวหาย ?
สวยดี
เออ จะบอกว่ารูปตรงที่ชำรุดหลายรูปนะ มันจะชำรุดตรงหัว หรือให้จำเพาะก็คือตรงใบหน้าว่ะไม่เข้าใจว่าทำไมต้องทำลายตรงนั้นกันด้วย
เพราะหน้ามันสะดุดตาเปล่า เราถึงเห็นว่าหน้าหาย
ไม่เอ็ง ข้าหมายความว่าถ้าเอ็งดูรูปทั้งตัวส่วนที่เสียหาย แบบว่าหายไปเลย มักจะเป็นหน้าเสมอ
เผื่อมีคนถาม---------------- เรื่องราวที่ปรากฏในจิตรกรรมฝาผนังวิหารลายคำ วัดพระสิงห์ มีชาดก ๒ เรื่อง คือ เรื่องสังข์ทอง ซึ่งเขียนบนผนัง ด้านทิศเหนือ เป็นฝีมือของสกุลช่างเชียงใหม่ และเรื่อง "สุวรรณหงส์" เขียนบนผนังด้านทิศใต้เป็นฝีมือสกุลช่างกรุงเทพฯ จากการวิเคราะห์ภาพจิตรกรรมของ สน สีมาตรัง กล่าวว่า สกุลช่างเชียงใหม่ที่เขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังด้านทิศเหนือ ของวิหารลายคำ เป็นลักษณะการเขียนภาพที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวช่าง ซึ่งบ่งบอกถึงความประทับใจของช่างแล้วแสดงออกในภาพ เป็นแบบอิสระตามความชอบและความถนัดของช่างเขียน มากกว่าจะเป็นแบบทำตามระบบกำกับงานของนายช่างใหญ่หรือผู้ปกครอง ภาพเขียนสี จิตรกรรมฝาผนัง ภาพจิตรกรรมฝาผนังในวิหารลายคำ วัดพระสิงห์ มีลักษณะการเขียนของช่างที่สวยงานประณีตเป็นอันมาก แสดงออกซึ่งความชำนาญของช่างเขียนที่ได้ถ่ายทอดออกมา มีลักษณะการเขียนที่ผสมผสานระหว่างศิลปะพม่าและรัตนโกสินทร์ ผนวกกับลักษณะเฉพาะของปราสาทล้านนา และเรือนกาแล ที่นิยมสร้างกันสมัยนั้น ภาพคน คือ ตัวพระ ตัวนาง และภาพตัว กาก (ภาพสามัญชน) มีลักษณะการเขียนที่แสดงถึงลักษณะของคน ล้านนาในยุคนั้น เครื่องแต่งกายต่างๆ ก็บอกความเป็นคนล้านนา โดยจะสังเกตุเห็นว่าเครื่องแต่งกาย ของข้าราชการในวังสมัยรัชกาลที่ ๕ ปรากฏอยู่ในภาพ นอกจากนี้ยังปรากฏลักษณะการแต่งกายของชนเผ่าต่างๆ ที่มีความใกล้ชิดกับชาวล้านนาสมัยนั้นด้วยรูปลักษณ์ของ หน้ากลม ตาสองชั้นเรียวยาว จมูกเรียวเล็ก ปากรูปกระจับ ทรงผมเกล้ามวยของผู้หญิง และทรงผมผู้ชายเป็นกระจุกอยู่กลางศีรษะที่เรียก กันว่า"ทรงมหาดไทย" ทุกอย่างที่กล่าวมาบ่งบอกถึงลักษณะของผู้คนชาวล้านนา ในพุทธศตวรรษที่ ๒๕ ทั้งสิ้น ส่วนลักษณะการเขียน สถาปัตยกรรมประกอบภาพในเรื่องส่วนประกอบของไม้ใช้เป็นส่วนบน ปูนใช้ เป็นส่วนกลางและหลังคามุงกระเบื้อง ส่วนรั้วและกำแพง บางจุดเป็นไม้ บางจุดเป็นอิฐมีความละเอียดประณีตมาก ใช้ทองคำเปลว ช่วยให้เกิดความสวยงาม มีผ้าม่านเป็นฉากกั้นระหว่างห้อง เขียนลายผ้าม่านเป็นลวดลายดอกไม้สวยงามมาก สีที่ใช้จิตรกรรมฝาผนังในวิหารลายคำ วัดพระสิงห์ เป็นวรรณสีเย็น ซึ่งมีสีน้ำเงินครามและสีเขียวเป็นส่วนใหญ่ นอกจาก นี้ก็มีสีแดง สีเขียว สีน้ำตาล สีดำ และสีทอง ซึ่งใช้เขียนส่วนที่เป็นโลหะปิดด้วยทองคำเปลวตัดด้วยสีแดงและดำ เช่น เชิงหลังคา และยอดปราสาท สิ่งของเครื่องใช้ เช่น อาวุธ เครื่องประดับ (เก็บความจากภาคนิพนธ์ของ วุฒิชัย ไชยราช เรื่อง เปรียบเทียบจิตรกรรมฝาผนังวัดพระสิงห์ กับวัดบวกครกหลวง สาขาศิลปศาสตร์ โปรแกรมวัฒนธรรมศึกษา วิทยาลัยครูเชียงใหม่ ๒๕๓๔)
เค้าหลบมุมกล้องหรือเปล่า ไม่อยากให้เห็นหน้า
ภาพดูสมบูรณ์มาก ไม่ค่อยเห็นร่องรอยชำรุดเลย ดูแลดีจิงๆ
คิดเหมือนกันค่ะ
อ๊ะ ภาพนี้นี่เอง
อิ อิ
อัศจรรย์จนหัวหาย ?
ตอบลบสวยดี
ตอบลบเออ จะบอกว่ารูปตรงที่ชำรุดหลายรูปนะ มันจะชำรุดตรงหัว หรือให้จำเพาะก็คือตรงใบหน้าว่ะ
ตอบลบไม่เข้าใจว่าทำไมต้องทำลายตรงนั้นกันด้วย
เพราะหน้ามันสะดุดตาเปล่า เราถึงเห็นว่าหน้าหาย
ตอบลบไม่เอ็ง ข้าหมายความว่าถ้าเอ็งดูรูปทั้งตัว
ตอบลบส่วนที่เสียหาย แบบว่าหายไปเลย มักจะเป็นหน้าเสมอ
เผื่อมีคนถาม
ตอบลบ----------------
เรื่องราวที่ปรากฏในจิตรกรรมฝาผนังวิหารลายคำ วัดพระสิงห์ มีชาดก ๒ เรื่อง คือ เรื่องสังข์ทอง ซึ่งเขียนบนผนัง ด้านทิศเหนือ เป็นฝีมือของสกุลช่างเชียงใหม่ และเรื่อง "สุวรรณหงส์" เขียนบนผนังด้านทิศใต้เป็นฝีมือสกุลช่างกรุงเทพฯ
จากการวิเคราะห์ภาพจิตรกรรมของ สน สีมาตรัง กล่าวว่า สกุลช่างเชียงใหม่ที่เขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังด้านทิศเหนือ ของวิหารลายคำ เป็นลักษณะการเขียนภาพที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวช่าง ซึ่งบ่งบอกถึงความประทับใจของช่างแล้วแสดงออกในภาพ เป็นแบบอิสระตามความชอบและความถนัดของช่างเขียน มากกว่าจะเป็นแบบทำตามระบบกำกับงานของนายช่างใหญ่หรือผู้ปกครอง
ภาพเขียนสี จิตรกรรมฝาผนัง
ภาพจิตรกรรมฝาผนังในวิหารลายคำ วัดพระสิงห์ มีลักษณะการเขียนของช่างที่สวยงานประณีตเป็นอันมาก แสดงออกซึ่งความชำนาญของช่างเขียนที่ได้ถ่ายทอดออกมา มีลักษณะการเขียนที่ผสมผสานระหว่างศิลปะพม่าและรัตนโกสินทร์ ผนวกกับลักษณะเฉพาะของปราสาทล้านนา และเรือนกาแล ที่นิยมสร้างกันสมัยนั้น ภาพคน คือ ตัวพระ ตัวนาง และภาพตัว กาก (ภาพสามัญชน) มีลักษณะการเขียนที่แสดงถึงลักษณะของคน ล้านนาในยุคนั้น เครื่องแต่งกายต่างๆ ก็บอกความเป็นคนล้านนา โดยจะสังเกตุเห็นว่าเครื่องแต่งกาย ของข้าราชการในวังสมัยรัชกาลที่ ๕ ปรากฏอยู่ในภาพ นอกจากนี้ยังปรากฏลักษณะการแต่งกายของชนเผ่าต่างๆ ที่มีความใกล้ชิดกับชาวล้านนาสมัยนั้นด้วยรูปลักษณ์ของ หน้ากลม ตาสองชั้นเรียวยาว จมูกเรียวเล็ก ปากรูปกระจับ ทรงผมเกล้ามวยของผู้หญิง และทรงผมผู้ชายเป็นกระจุกอยู่กลางศีรษะที่เรียก กันว่า"ทรงมหาดไทย" ทุกอย่างที่กล่าวมาบ่งบอกถึงลักษณะของผู้คนชาวล้านนา ในพุทธศตวรรษที่ ๒๕ ทั้งสิ้น ส่วนลักษณะการเขียน สถาปัตยกรรมประกอบภาพในเรื่องส่วนประกอบของไม้ใช้เป็นส่วนบน ปูนใช้ เป็นส่วนกลางและหลังคามุงกระเบื้อง ส่วนรั้วและกำแพง บางจุดเป็นไม้ บางจุดเป็นอิฐมีความละเอียดประณีตมาก ใช้ทองคำเปลว ช่วยให้เกิดความสวยงาม มีผ้าม่านเป็นฉากกั้นระหว่างห้อง เขียนลายผ้าม่านเป็นลวดลายดอกไม้สวยงามมาก
สีที่ใช้จิตรกรรมฝาผนังในวิหารลายคำ วัดพระสิงห์ เป็นวรรณสีเย็น ซึ่งมีสีน้ำเงินครามและสีเขียวเป็นส่วนใหญ่ นอกจาก นี้ก็มีสีแดง สีเขียว สีน้ำตาล สีดำ และสีทอง ซึ่งใช้เขียนส่วนที่เป็นโลหะปิดด้วยทองคำเปลวตัดด้วยสีแดงและดำ เช่น เชิงหลังคา และยอดปราสาท สิ่งของเครื่องใช้ เช่น อาวุธ เครื่องประดับ
(เก็บความจากภาคนิพนธ์ของ วุฒิชัย ไชยราช เรื่อง เปรียบเทียบจิตรกรรมฝาผนังวัดพระสิงห์ กับวัดบวกครกหลวง สาขาศิลปศาสตร์ โปรแกรมวัฒนธรรมศึกษา วิทยาลัยครูเชียงใหม่ ๒๕๓๔)
เค้าหลบมุมกล้องหรือเปล่า ไม่อยากให้เห็นหน้า
ตอบลบภาพดูสมบูรณ์มาก ไม่ค่อยเห็นร่องรอยชำรุดเลย ดูแลดีจิงๆ
ตอบลบคิดเหมือนกันค่ะ
ตอบลบอ๊ะ ภาพนี้นี่เอง
ตอบลบอิ อิ
ตอบลบ