Rating: | ★★★★★ |
Category: | Books |
Genre: | Literature & Fiction |
Author: | ชาติ กอบจิตติ |
แล้วก็ต้องคารวะด้วยการนำดาวทั้ง ๕ ใส่พานถวายน้าชาติ-ชาติ กอบจิตติ ผู้เขียนนวนิยายเรื่องนี้ ซึ่งพิชิตทั้งรางวัลนวนิยายดีเด่นแห่งชาติ ปี ๒๕๒๔ และ รางวัลซีไรต์ ปี ๒๕๒๕ อย่างนอบน้อม
น้าชาติวางแผนโจมตี “สำนึก” ของความเป็นคนของคนอ่านอย่างแยบยล ผ่านเรื่องราวของ ฟัก ผู้ซึ่งเคยมีอดีตอันเรืองรองเป็นถึงสมาชิกสามัญระดับค่อนข้างต่ำ (มีคนต่ำกว่า) ของชุมชน (ดิฉันจัดให้เอง)
วัดจากการที่เขาเป็นคนไม่มีบ้าน (อาศัยวัดอยู่-อาศัยข้าววัดกิน) ไม่มีแม่ ด้วยเหตุนี้เขาจึงโตมากับพ่ออย่างพร่องคุณภาพชีวิต แต่กระนั้นฟักเคยมีช่วง “รุ่ง” กับเขาเหมือนกัน สมัยที่บวชเรียนเป็นเณร ความขยันหมั่นเพียรทำให้ สามเณรฟักสอบนักธรรมเอกได้ภายใน ๓ ปี แต่แล้วเขาก็ขอลาสึก เพราะความเป็นห่วงพ่อซึ่งตอนนี้แก่แล้ว ชักจะงกๆ เงิ่นๆ ทำงานภารโรงที่โีรงเรียนไม่ค่อยไหว
ไม่รู้ว่าพ่อของฟักเหงาหรือสงสาร วันที่ฟักกลับจากทหารจึงพบสมาชิกใหม่ในบ้าน (กระต๊อบ) เป็นหญิงสาวสติไม่เต็มเต็ง นามว่า สมทรง
(ทำไมหนอ น้าจึงให้คนแบบฟู พ่อของฟัก ได้เมียเป็นผู้หญิงแบบนี้)
และเมื่อสิ้นพ่อ ฟักก็รับดูแลแม่เลี้ยงต่อไป ในกระท่อมเดียวกัน-ก็จะให้เขาเอานางไปทิ้งที่ไหน สติสตังไม่เต็มเต็งแบบนี้
ไม่ใช่แค่แม่เลี้ยง มรดกที่ฟักรับช่วงต่อจากพ่อยังเป็นงานฟูลไทม์ในหน้าที่ภารโรง ซึ่งหมายถึงงานรับใช้จิปาถะทั่วไป แล้วแต่บรรดาครูประสงค์ด้วย โรงเรียนจึงกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตฟัก และบุคลากรในโรงเรียนก็มีอิทธิพลสำคัญต่อฟักด้วย
ด้วยการใช้วิถีชีวิตต่ำเตี้ยเรี่ยดิน ไร้ความทะยานอยากได้ใคร่ดีของคนอย่างฟัก เรื่องอาจจะไม่เลวร้ายนัก ถ้าในวันนั้น วันที่พ่อจากไปได้แค่เดือนกว่าๆ นางสมทรงไม่ทำตาขวาง ด่าแม่ค้าขายถั่วในงานวัดที่มาหยอกล้อฟักอย่างหึงหวง ว่า “อย่ามายุ่งกับผัวฉันนะ”
ไม่ว่าสมทรงจะรักฟักเหมือนผัวหรือไม่ ประโยคนี้ก็ทำให้เรื่องราวน่าสังเวชใจทั้งหมดเริ่มต้นขึ้น
ชาวบ้านเริ่มซุบซิบนินทา ว่าฟักเอาเมียพ่อเป็นเมียตัว ในสังคมแคบๆ ในเงื่อนไขที่บีบรัด (ฟักมองไม่เห็นทางออกอื่นนอกจากเลี้ยงดูสมทรงต่อไป) กดดันความรู้สึกของฟักแรงขึ้นเรื่อยๆ เขาเริ่มรู้สึกว่าเขาไม่ได้รับการยอมรับ ถูกถีบออกจากสังคมให้กลายเป็นคนนอก ไร้คนคบหาสมาคม และเริ่มจะประสาทกับการวนเวียนพูดคุยกับตัวเอง เครียดมากจนนอนไม่หลับ
แล้วน้าชาติก็ให้ฟัก ผู้ซึ่งตั้งแต่เกิดมายังไม่เคยทำบาปกรรมอะไรเลย ลงมือเด็ดชีวิตหมาไม่มีทางสู้ตัวหนึ่ง ซึ่งไม่มีใครพิสูจน์ได้ว่ามันเป็นหมาบ้า หรือแค่หมาป่วย ฟักรู้สึกผิดไม่น้อยกับการกระทำึครั้งนี้ แต่อีกใจเขาก็เชื่อว่าด้วยการฆ่าหมาตัวนี้ ทำให้เขาดูน่านับถือขึ้นบ้างในสายตาของชุมชน
คนอ่านดิ่่งลึกไปในความบัดซบของชีวิตฟักมากขึ้นเรื่อยๆ ในฉากเผาศพพ่อ ก็ได้เห็น (อ่าน) น้ำตาแรกของฟัก จากนั้น ฤทธิ์สุราขาวตรารวงข้าวก็ช่วยเปิดประตูเขื่อนน้ำตาของเขาจนเต็มบาน
เมื่อฟักพบว่าสุราช่วยคลายความกดดันทั้งมวลที่ประดังประเดอยู่ สุราทำให้เขากล้าสู่ตาคน กล้าพูดในสิ่งที่อยากจะพูด และสุราทำให้เขาพบเพื่อนเพียงคนเดียวที่คุยด้วยรู้เรื่อง นั่นก็คือ สัปเหร่อไข่ ผู้มีอาชีพสกปรก น่ารังเกียจ ซึ่งครั้งหนึ่งฟักเคยเหยียดว่าแกมีสถาพภาพทางสังคมต่ำกว่าตัวเอง..และในที่สุด ฟักก็ติดเหล้า กลายเป็นไอ้ฟักขี้เมาไปโดยสมบูรณ์แบบ
น้าชาติยังไม่หยุดที่จะฉุดให้คนอ่านหมองไปกับเรื่องของฟัก อ่านไปนานๆ ชักปวดหัว (แต่ก็ยังอ่านต่อนะ) แล้วในที่สุด น้าแกก็จบชีวิตตัวละครตัวนี้อย่าง ..อย่างน่าสงสาร น่าสังเวชใจ
ถ้าจะถามว่าการอ่านหนังสือเล่มนี้ ให้อะไรบ้าง?
หลายคน คงจะตอบด้วยคำตอบหลายอย่าง
ดิฉันเอง ระหว่างที่อ่านคำพิพากษาไปวันละนิดหน่อย ก็นึกถึงสารคดีข่าวเกี่ยวกับความเชื่อเรื่อง “ผีปอป” ของบางชุมชนทางภาคอีสานที่ได้ดูทางไทยทีวี ..ได้ดูในช่วงคาบเกี่ยวกันพอดี
นึกถึงคำพูดของผู้ใหญ่บ้านหนุ่มแห่งหมู่บ้านที่ผู้ถูกขับไล่ (เหมือนหมูหมา) จากชุมชน เพราะถูกกล่าวหาว่าเป็นผีปอปจะไปอยู่รวมกัน เพื่อรักษาอาการด้วยน้ำในบ่อศักดิ์สิทธิ์
ผู้ใหญ่ตอบคำถามว่า ปอปคืออะไร สั้นๆ เพียงว่า
“ปอป อยู่ที่ปาก”
..ทั้งที่ปอปยังเป็นเรื่องพิสูจน์ไม่ได้ แต่ถ้ามีคนหนึ่งเริ่มต้นกล่าวหาว่าอีกคนเป็นปอป แล้วคนอื่นๆ เชื่อ คนที่ถูกกล่าวหาก็เหมือนกลายเป็นปอปไปแล้วจริงๆ
บางที ชีวิตของเราอาจะไม่ได้ขึ้นอยู่กับโชคชะตา
แต่อยู่ที่ “ปาก” ของคนอื่นนี่เอง
บันทึก:
• นี่เราอ่านวรรณกรรมเรื่องนี้ช้าไปถึง ๒๖ ปี เชียวหรือนี่?
• เล่มที่อ่านเป็นฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๔๑
• มนุษย์เป็นสัตว์สังคมจริงๆ ด้วย
• อยากรู้มากๆ ว่าน้าชาติได้แรงบันดาลใจมาจากไหน
• และน้าชาติใช้เวลาเท่าไหร่ในการวางพล็อตก่อนลงมือเขียน
• อ่านแล้วสงสัยว่า บาปกรรมมีจริงไหม
• เพิ่งเข้าใจว่าทำไมคนคนหนึ่งถึงติดเหล้าได้
• สงสัย ว่าคนมีความสุข ชีวิตไม่ได้จมอยู่กับความทุกข์จะติดเหล้าได้ไหม
• ขอบคุณน้าชาติที่รีบจบเรื่องโดยไม่ให้ฟักไปทำอะไรที่ทำร้ายใจคนอ่านเพิ่ม อย่าง ขอทานหรือปล้นใครเพื่อเอาเงินมาซื้อเหล้า
• ไม่น่าไปดูหนังเรื่องนั้นก่อนอ่านหนังสือเรื่องนี้เลย
ขอแสดงความยินดีด้วย
ตอบลบ....ที่จะได้เริ่มอ่านชู้รักเลดี้แชตเตอร์เลย์เสียทีี?
ตอบลบอ่านตอนเด็กๆอ่ะ ป.6 มั้งตอนนั้นมีละครช่องสามด้วยล่ะ แต่เด็กไปไม่ค่อยเข้าใจ ละครจำได้ว่าทำดีเหมือนกันเด็กอย่างเราดูแล้วก็พอจะรู้เรื่องบ้าง จริงๆมันลึกเนอะเรื่องนี้ เด็กๆชอบอ่านนิยายของวาณิช กับ ชาติ กอบจิตติ ที่ไม่ใช่พันธุ์หมาบ้านะ แต่อ่านยังดีกว่าหนัง หนังทำได้ห่วยแตกมากเป็นเรื่องแรกในชีวิตที่ดูไปไม่ถึงครึ่งเรื่องแล้วเดินกลับออกจากโรงเลยล่ะ แล้วก็ชอบ อัศศิริ ธรรมโชติ ชอบเจ้าขุนทองฯ
ตอบลบสำหรับบันทึกนี่ เดี๋ยวขอกลับไปอ่านใหม่แล้วจะช่วยคิดนะม้อย ฮะฮะ สิบปีหลังนี่พี่เสพย์แต่สุขนาฏกรรม happy sweet heart ..romantic comedy ฮาฮา คงต้องใช้เวลาวิเคราะห์นานหน่อย
อ่านแล้วเหมือนกัน แต่งงๆว่าสมัยก่อนมันคงไม่ค่อยมีอะไรทำในชีวิตเนอะ หรือว่าเราไม่เข้าใจหล่อนก็ไม่รู้ ถ้าเป็นเราเราคงเลือกคนที่คุยกันรู้เรื่องเป็นอันดับแรก ไหงไปรักชายกล้ามใหญ่ฟะ มีดีตรงไหน
ตอบลบถ้าจำไม่ผิดพี่อ่านเรื่องนี้มากกว่ายี่สิบปีแน่ ๆ (บ่งบอกถึงวัยมะ)
ตอบลบจำได้อ่านในห้องสมุดตอนมัธยมปลาย
เป็นช่วงที่กระหายใคร่อ่าน อ่านแม่งหมดห้องสมุดเลยอ่ะ
จำได้คลั๊บคล้ายคลั้บคลาว่า อ่านแล้วรัดทดมาก
พอเค้ามีหนัง มีละครออกมา พี่ก็ไม่ดูเลยนะ สงสาร
จำได้แค่นี้แหละ
อะไรมันจะนานนนนนนนนน ขนาดนั้นก็ไม่รู้นะพี่นะ
ตอบลบถ้าอ่านตั้งแต่ ป.๖ น่าอ่านอีกรอบนะพี่
ตอบลบเหมือนว่าเนื้อหาในเล่มมันต้องการวุฒิภาวะของคนอ่านเหมือนกันน่ะ
ม้อยก็ชอบวานิชม้ากมากแหละ พี่จุ๊บ
อ่านตอนสิบสี่ สิบห้าเนี่ยแหละ
ตอบลบอยากกลับไปอ่านอีกรอบ แต่คงต้องต่อคิวเยอะหน่อย
หนังสือจะทับตายอยู่และ
ห้องนอนนี่ต้องแซะแซะไป
เพราะผู้ชายกล้ามใหญ่มีบางอย่างที่คนคุยกันรู้เรื่องไม่มีกระมังคะ?
ตอบลบฮิฮิ
อืมมมม....น่าคิด แต่สงสัยเราจะเลยวัยนั้นมาแล้ว โฮะโฮะ
ตอบลบพี่ก็มีหนังสือกองไว้ท่วมเตียงๆนึง ยังไม่ได้อ่านเลย ก็ต้องค่อยๆจัดพระอันดับให้มันเหมือนกัน ไม่รู้สิ้นปีจะอ่านหมดรึเปล่า ตำราออกแบบ เรื่องศิลปะ การตลาด เที่ยวนอก เกิดบ้าอะไรก็ซื้ออันนั้นมาแล้วมักจะบ้าเป็นพักๆ ถ้าเกิดตาบอดขึ้นมานี่ชีวิตคงต้องตั้งหลักใหม่เลยเนอะ ..คนตาดีๆนี่โชคดีจริงๆ
ตอบลบพันธุ์หมาบ้า ยังอ่านไม่จบเลย
ตอบลบเหมียนกัลล์เรยย
ตอบลบงานเขียนของชาติ ระดับชาติ และนานาชาติ ให้สี่ดาวเลย
ตอบลบหนังสือน่าอ่าน
แต่หนังไม่น่าชมเลย ทำให้งานเขียนหมองเลย
คิดว่าหนังไม่ถึงกับไม่น่าชมหรอก
ตอบลบแค่มันเบี่ยงเบนประเด็นไปมาก
แถมฟักยังน่ะ หล่อเกินเหตุ (ไปไหม?)
ในงานสัมมนาโครงการวิจัยการวิจารณ์ในฐานะพลังทางปัญญาของสังคมร่วมสมัย (ชื่อจะยาวอะไรปานนั้น) เรื่องของ 20 ปี การวิจารณ์คำพิพากษา วันนั้น อาจารย์ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์ ตั้งข้อสังเกตว่า ฟัก และชาวหมู่บ้านนั้น ไม่ต่างจากเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 โดยเฉพาะฉากที่ชาวบ้านตีสุนัข(ที่คิดว่า)บ้าตัวนั้นจนตาย เป็นข้อวิจารณ์ที่น้าชาติ ถึงกับยอมรับว่า เขาเขียนเรื่องนี้เพราะเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519
ตอบลบแม้จะรู้สึกอยู่ลึกๆ แต่ไม่คิดว่าจะจริง และวันนั้นล่ะ ที่รู้ว่าจริง น้าชาติบอกเองกับปาก อึ้งไปทั้งห้อง แล้วก้อยากร้องไห้ขึ้นมาซะงั้น ว่าแต่ว่า เด็กสมัยนี้เขาก็ไม่รู้จัก 6 ตุลา กันน่ะสิ น้า...
เศร้าได้อีก
ตอบลบเราเองก็ไม่คิดเลย
ให้ 4 ดาวก็พอ
ตอบลบเพราะเรื่องนี้มันน่าเศร้า จนทำให้ไม่อยากอ่านเป็นรอบที่สอง
ตอนเด็กๆ เคยดูคำพิพากษา เวอร์ชั่นละครช่อง 3 ที่ กษมา นิสัยพันธ์ แสดงเป็น ไอ้ฟัก
จำได้อยู่ฉากหนึ่ง ตอนที่มีเด็ก 4-5 คน มาวิ่งล้อมรอบ-ล้อเลียนไอ้ฟักที่กำลังเมา ว่า " ไอ้ฟักขี้เมาจับเมียแก้ผ้าๆๆๆๆๆ "
เด็กวิ่งดักหน้าดักหลังไอ้ฟักที่เดินโงนเงน และเตะถีบไอ้ฟักไปด้วย
ไอ้ฟักที่กำลังเมา และเดือดดาล ก้มหยิบก้อนหินที่พื้น ขว้างเด็กแบบสะเปะสะปะ
"ไป..ไปไกลๆ กู..อย่ามายุ่งกับกู"
ฉับพลัน..อิฐก้อนขนาดกำปั้น ปลิวตามแรงเหวี่ยงจากมือไอ้ฟัก
ไปโดนเอาหัวของเด็กคนหนึ่ง
เด็กคนนั้นร้องโอ๊ย เอามือกุมหน้าผากที่มีเลือดสดๆ ทะลักออกมา
เด็กพูดด้วยน้ำเสียงที่นิ่งมากว่า "กูจะไปฟ้องพ่อกู"
......ประโยคนี้ ผมจำแม่นเลย........
รู้สึกว่าละครตอนนั้นจะทำได้ดีนะ
ตอบลบตั้งแต่นั้นมา แม่ดิฉันเรียกกษมาว่า "ไอ้ฟัก" ตลอด
แต่จำเรื่องไม่ค่อยได้เลย
ในหนังสือฟักใช้ลูกมะพร้าวขว้างหัวเด็ก
หัวไม่แตก แต่โน
แล้วคืนนั้นฟักก็โดนซ้อม
ชอบเรื่องนี้มากๆๆๆๆ
ตอบลบทั้งนิยาย ทั้งภาพยนตร์
มันสื่อสันดาน พฤติกรรม ความเป็นมนุษย์ได้ดีมาก ๆๆ
ภาพยนตร์?!!!!
ตอบลบที่ตัก บงกช เล่นอะคับ ^^
ตอบลบออกจะเป็นอะไรที่ตีความเป็นเรื่องใหม่ไปนะคะ
ตอบลบ