วันอาทิตย์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ไหว้พระวัดเชียงทอง



จันทร์ที่ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๕๒
..ฝนตก



เราปั่นจักรยานไปวัดเชียงทองกันในวันจันทร์ที่ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๕๒

หลังจากที่ได้เช่าจักรยานตอนสายๆ ปั่นไปตามหาร้านประชานิยม (แต่ไม่เจอ เพราะไม่คิดว่ามันจะเรียบง่ายอย่างนั้น) แล้วก็เลียบโขงไป ตัดเข้าซอยเล็กๆ ผ่านร้านทำเครื่องเงิน แล้วก็ไปโผล่ร้าน Joma (ขนมอร่อย) แวะไปรษณีย์ (แสตมป์ไม่พอ ต้องกลับมาตอนบ่าย) เลาะริมคาน ไปปากคาน แวะทักทายกับแมวขาว (ความจริงคือตัวมอม-บนวัดพระธาตุดอยสุเทพก็มี แต่หน้าตาไม่เหมือนกันเลย) แล้วก็ไปแวะกินข้าวซอยหน้าวัดแสนสุขาราม

แล้วอิฉันก็กลับมาเขียนโปสการ์ดแล้วนอน (ก็ฝนตกนิฮะ) สองคนนั้นไปปั่นกันต่อ เห็นว่าออกไปทางชานเมือง พอเขากลับมาก็พากันไปไปรษณีย์ โหมซื้อแสตมป์จนต้องแลกตังค์เพิ่ม ฝนปรอยๆ แวะกินไอติมลูกตาล แล้วก็ไปต่อที่วัดเชียงทอง

อากาศไม่แจ่ม ฝนตกๆ หยุดๆ เพราะไม่ยอมอ่านไกด์บุ๊คมาก่อน ก็เลยเหมือนตาบอดคลำช้าง (ยังไงฟระ)
แวะเข้าโรงเมี้ยนโกศก่อน (เป็นโกศพระเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์นั่นเอง ถึงได้ใหญ่นัก) เพลินชมงานแกะสลักที่บานประตูและหน้าต่าง รู้เลยว่าต้องเป็นรามเกียรติ์ เพราะว่าเห็นทศกัณฐ์ ผู้หญิงสวยๆ ที่เดาว่าเป็นสีดา และหนุมาน (ไกด์บุ๊คบอกตอนสีดาลุยไฟ)

จากนั้นก็เก็บรูปสิม (โบสถ์) เท่าที่รู้สิมวัดเชียงทองเป็นสิมแบบล้านช้างที่สมบูรณ์ที่สุดในหลวงพระบาง (เพราะไม่ถูกเผาเหมือนวัดอื่นๆ) ดำเนินไปหลังสิม ก็พบกับลายต้นทอง หรือต้นงิ้ว ซึ่งตะก่อนนี้มีมากในย่านนี้ (น่าจะเป็นที่มาของชื่อวัด “เชียงทอง”) เป็นต้นงิ้วที่งาม ไม่น่ากลัวเลยนะฮะ

จากนั้น วนกรก็เรียกให้ดูแมวคราวตัวหนึ่งซึ่งนอนไม่รู้ร้อนรู้หนาวอยู่บนหอพระที่ปิดประตูไว้ ที่หลังสิมนั้น
(มารู้ที่หลังว่าพระในหอคือพระม่าน พระคู่บ้านคู่เมืองหลวงพระบางที่ใครมาแล้วก็ควรมาไหว้-ใครมาหลวงพระบางก็ควรมาไหว้ และใครอยากมีลูกก็ให้มาขอกับพระม่านนี้แล) ทว่า อิฉันเอาแต่หลบฝนและแกล้งแมว (ดังที่คงได้เห็นกันไปแล้ว) จึงพลาดการไหว้พระม่านไปทั้งๆ ที่นั่งอยู่หน้าหอตั้งเป็นนาน

จากนั้นพอฝนบางก็ดำเนินไปไหว้พระประธานในสิม สมควรแก่เวลาแล้วจึงพากันกลับ

(สมค่าเข้าคนละ ๒๐.๐๐๐ กีบไหมเนี่ย???)

72 ความคิดเห็น:

  1. ทำไมเป็นภาษาประหลาด อ่านไม่ออก

    ตอบลบ
  2. เหมือนสีดาจะเคลิ้มเลย

    ตอบลบ
  3. ดูคับ
    คับข้องทางวัฒนธรรม

    ตอบลบ
  4. ไม่ยักรู้ว่าเป็นต้นงิ้ว
    เป็นพวกตัวฤทธิ์ ที่ไม่อ่านอะไรเลย

    ตอบลบ
  5. (มารู้ตอนจะเขียนเหมือนกัน)

    ตอบลบ
  6. แต่พี่ว่า สีดาเค้าเซ็งนะนั่น

    ตอบลบ
  7. เค้าน่ามีผ้าถุงให้ยืมใส่เน๊อะ

    ตอบลบ
  8. มีเป็นภาษาอังกฤษด้วยเปล่า?

    ตอบลบ
  9. กะลุนาปดเกิบก่อนเข้าสิม....แม่นบ่...

    ตอบลบ
  10. ต๊ายยย อ้ายผู้นี้อ่านออกด้วย
    ข้าเจ้าอ่านภาษาอังกฤษเอาน่ะ

    แต่ถึงไม่อ่าน เราคนไทยก็ถอดเนอะ

    ตอบลบ
  11. เออ...จำไม่ได้สิฮะ

    อันนี้เค้าเหมือนเตือนคนไทยโดยจำเพาะเลยใช่มะ
    (แน่ล่ะ คนไทยไปหลวงพระบางเยอะจาตาย)

    ตอบลบ
  12. ดูเผินๆ นึกว่าเกล็ดงู

    ตอบลบ
  13. เขาเก็บเงินตรงทางเข้าด้วยนะ
    แต่ไม่ได้จัดการเรื่องแบบนี้
    ทั้งๆ ที่เป็นเรื่องง่ายมาก

    ตอบลบ
  14. เฮากินนกยูง
    เฮากินกวาง
    เฮากินฟาน
    เฮากินนก

    ตอบลบ
  15. ภาพดีกว่าเยอะเลยครับ

    ตอบลบ
  16. ตอนผมไป ไม่ได้เข้าไปดูครับ
    เขาปิด

    ตอบลบ
  17. อันนี้ก็ไม่ได้เข้าไปดู..เพราะปิดสิม
    แต่เก็บเงินเท่าเดิม...

    ตอบลบ
  18. ที่ต้องเตือนคนไทย ทั้งๆ ที่มีวัฒนธรรมใกล้เคียงกันมาก
    ก็เพราะว่า...

    ..ฮี่ฮี่....

    ตอบลบ
  19. จิตรกรรมฝาผนังแบบนี้เพิ่งเคยเห็น
    แปลกดีนะ

    ตอบลบ
  20. นั่นสิ คนหลวงพระบาง speak ดีมากนะฮะ

    ป.ล. ม้อยก็ใส่กุงเกงเข้าเหมือนกัน ขาเต่อด้วย
    แต่ก็ใส่เสื้อมีแขนนะพี่

    ตอบลบ
  21. สีมือห่วยน่ะไม่ว่า
    ภาพก่อนหน้านี้กะถ่ายให้เห็นเม็ดฝนฮะ

    ตอบลบ
  22. คราวนี้หอพระม่านก็ปิดพี่

    ตอบลบ
  23. คนไทยไม่รู้จักกาลเทศะ
    ไม่รู้จักที่ต่ำที่สูง

    (ตึ่ง!)

    ตอบลบ
  24. ศิลปะแบบนี้เค้าเรียก naive art เป็นศิลปะที่สื่อสารอย่างตรงไปตรงมา หลุดออกจากกรอบคิดทฤษฎีศิลป์
    ศิลปะแบบนี้มักมีสีสันสดใส แม้จะไม่ประณีตละเอียด แต่ก็มีความน่ารักอยู่ในตัว (นะจ๊ะ)


    ข้อมูลจากไกด์บุ๊คหลวงพระบาง โดยศรัีณย์ บุญประเสริฐ สำนักพิมพ์นายรอบรู้จ้ะ
    (เลือกดีๆ นะจ๊ะ ไม่งั้นมันจะหลุดเป็นชิ้นๆ แบบของพี่--หุ หุ)

    ตอบลบ
  25. แล้วทำไมเราดูต้นงิ้วไม่ออก

    ตอบลบ
  26. ~~~อยากให้เลอยู่ตรงนี้~~~

    : )

    ตอบลบ
  27. ยกแล้วเหมือนกัน ยกเสร็จแล้วถ่ายรูปเบลอตลอดเลย มือสั่น T-T

    ตอบลบ
  28. สงสัยเพราะเรายังไม่เคยปีน


    ...บ้าหรอ ไม่อ่านคู่มืออย่าโทษรูปดิ

    ตอบลบ
  29. เฮ้ยแล้วไม่บอกกันมั่ง

    ยกได้ใช่ปะ
    ถามเรื่องไรง่ะ

    ตอบลบ
  30. ไม่เห็นเหมือนเลย
    แค่คล้ายๆ

    รูปคุณไม่ม ีช่อฟ้าสิมแบบล้านช้างซะหน่อย

    ตอบลบ
  31. เลจำพี่ซุปไม่ได้แร้ว คิกคิก

    ตอบลบ
  32. ยกได้ฮะ แต่จำไม่ได้ละว่าถามเรื่องอะไร เกี่ยวกับการงานมั้ง

    ตอบลบ
  33. แต่น้าซุปมะเคยลืมเลลลลลลลล
    อิอิ ^^

    ตอบลบ
  34. หู้ยยยย เรื่องนี้มันคับคาใจมากหรือไง

    ตอบลบ
  35. ตกลงจะเป็นพี่หรือน้ากันแน่???

    ตอบลบ
  36. หน้าออกเซ็งๆ แต่ตัวพริ้วไปกับเขาแล้ว
    เอ๊ะ ไง

    ตอบลบ
  37. น่ารักทั้งสัดส่วน และ งานฝาผนัง

    ตอบลบ
  38. อ้าว คิดว่าสีดากับลักษมณ์ นะเนี่ย

    ตอบลบ
  39. อิจฉา ไม่เคยไปหลวงพระบางเลยเรา

    ตอบลบ
  40. หูย ไปมาถึงอินเดีย เนปาล
    หลวงพระบางอยู่แค่นี้เอง
    พรุ่งนี้ก็ไปได้ ^_^

    ตอบลบ
  41. ูู^
    วีซ่าก้อไม่ต้องขอ

    ตอบลบ
  42. ผมดูขานะพี่ เหมือนจะพันๆกัน

    ตอบลบ
  43. มีเชื้อลาวไง เลยย่ามใจว่าบ้านเก่าน่ะ ไปเมื่อไรก็ได้
    เอ๊ะ แต่ลาวโซ่งเนี่ย เกี่ยวกะหลวงพระบางรึเปล่า? หรือต้องไปเวียดนามกันแน่

    ตอบลบ
  44. ...อ่า ใครรู้มั่งช่วยตอบหน่อยซีฮะ

    ตอบลบ
  45. ฟ้าสวย ชอบบรรยากาศแบบนี้จัง

    ตอบลบ
  46. ลาวโซ่ง น่าจะทางหลวงพระบางค่ะ
    ที่ทอผ้าตีนจกใช่ป่ะ

    ตอบลบ
  47. เอาจริงๆ น่ะนะ คนไทยชนชั้นกลางในกรุงเทพฯ ต่างหากที่ไม่รู้จักที่ต่ำที่สูง
    และไม่เฉพาะในหลวงพระบาง กระทั่งวัดพระแก้วของเราเอง หรือวัดโพธิ์ก็มีให้เห็น
    ไอ้ประเภทเดาะอยากเป็นฝรั่งเนี่ย

    ตอบลบ
  48. เจอข้อมูลจากเว็บ www.samutsakhon.go.th ประมาณว่า
    -----------
    ลาวโซ่งหรือผู้ไทย เป็นชนชาติไทยกลุ่มหนึ่งซึ่งมีชื่อเรียกกันต่าง ๆ นานาว่าไทยดำ ผู้ไทดำ ไทซงดำ ผู้ไทซงดำ ผู้ไททรงดำ ลาวทรงดำ ลาวซ่วง ลาวซ่วงดำ ลาวโซ่ง ไทโซ่ง อันมีข้อสันนิษฐานว่า ที่มีชื่อเรียกมากมายหลายชื่อนั้นก็เนื่องมาจากคำว่า "โซ่ง ซ่วง หรือส้วง" ในภาษาลาวโซ่งแปลว่ากางเกง คำว่าลาวโซ่งหรือลาวซ่วง จึงหมายถึงลาวนุ่งกางเกง หรือหมายถึงผู้ที่นุ่งห่มด้วยเสื้อผ้าสีดำนั้นเอง และมีประวัติเล่าสืบทอดกันว่า มีถิ่นฐานเดิมอยู่ทางตอนเหนือของประเทศ ต่อมาได้อพยพย้ายจากถิ่นฐานเดิมลงมา สู่ดินแดนทางตอนใต้ กับตะวันออกเฉียงใต้เรื่อยมา และกระจายกันอยู่บริเวณมณทลกวางสี ยูนนาน ตังเกี๋ย ลุ่มแม่น้ำดำและแม่น้ำแดง จนถึงแคว้นสิบสองจุไทย โดยมีเมืองแถง หรือเดียนเบียนฟู เป็นศูนย์กลางการปกครองตนเองอย่างอิสระ ภายหลังได้อพยพหนีภัยสงครามเข้ามาตั้งหลักแหล่งกระจาย กันอยู่ในที่ต่าง ๆ ในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก

    ลาวโซ่งหรือผู้ไทดำ ได้อพยพลงมาจากถิ่นฐานเดิม คือ แถบบริเวณแคว้นสิบสองจุไทย และเข้าสู่ประเทศไทยด้วยเหตุผลทางสงครามหลายครั้ง ตั้งแต่สมัยธนบุรี จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ในสมัยรัชกาลที่ ๕ กล่าวคือการอพยพครั้งแรกได้เริ่มขึ้นราว พ.ศ.๒๓๒๒ เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงโปรดฯให้ยกกองทัพไปตีเวียงจันทน์ พร้อมด้วยกวาดต้อนครอบครัวลาวโซ่งในเขตเมืองญวนลงมาด้วยเป็นจำนวนมาก และโปรดฯ ให้ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่จังหวัดเพชรบุรี เป็นแห่งแรก เนื่องจากเมืองเพชรบุรี มีภูมิประเทศเป็นป่าเขามากมาย และภูมิประเทศคล้ายกับบ้านเมืองเดิม คือ เมืองแถง แคว้นสิบสองจุไทย ต่อจากนั้นในสมัยรัตนโกสินทร์ได้มีการกวาดต้อนครอบครัวลาวโซ่ง จากเมืองแถงลงมาถวายที่กรุงเทพฯ อีกหลายครั้งได้แก่ รัชสมัยรัชกาลที่ ๑ รัชกาลที่ ๓ และรัชกาลที่ ๕ ซึ่งได้มีการกวาดต้อนครอบครัวลาวโซ่งเข้ามากรุงเทพฯ เป็นรุ่นสุดท้ายในราว พ.ศ.๒๔๓๐


    และทุกครั้งที่ถูกกวาดต้อนมาครอบครัวลาวโซ่งต่างก็ได้ไปตั้งรกรากอยู่ที่ จังหวัดเพชรบุรีอีกเช่นกัน แต่ต่อมาบรรดาลาวโซ่งเหล่านี้ได้กระจายกันอพยพไปอยู่ตามที่ต่าง ๆ ของประเทศไทย ก็ด้วยเหตุผลที่ว่าพวกลาวโซ่งรุ่นเก่า มีความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะกลับไปยังถิ่นฐานเดิมของตนที่เมืองแถง แคว้นสิบสองจุไทยอีกครั้ง จึงพยายามเดินทางจากจังหวัดเพชรบุรีขึ้นไปทางเหนือเรื่อยไป ครั้นถึงฤดูฝนก็หยุดพักทำนาเพื่อหาเสบียงไว้เดินทางจนสิ้นฤดูฝนจึงเดินทาง ต่อไป กระทั่งบรรดาคนแก่ซึ่งเป็นผู้นำทางได้ตายจากไปในระหว่างการเดินทาง บรรดาลูกหลานก็ไม่สามารถเดินทางต่อไปให้ถึงที่หมายได้ จึงพากันตั้งหลักแหล่งไปตามระยะทางเป็นแห่ง ๆ ไป ทำให้มีกลุ่มลาวโซ่งกระจายกันอยู่ตามท้องถิ่นต่าง ๆ ในประเทศไทยหลายแห่งได้แก่จังหวัดเพชรบุรี สุพรรณบุรี ราชบุรี นครปฐม สมุทรสาคร เลย รวมทั้งลาวโซ่งที่กระจายกันอยู่ในจังหวัดต่าง ๆ อีกหลายจังหวัด อาทิ จังหวัดกาญจนบุรี ลพบุรี สระบุรี พิจิตร พิษณุโลก สุโขทัย ชุมพรและสุราษฏร์ธานีเป็นต้น

    ----
    เดาว่าคุณเป็นคนเมืองเพชรสิ?

    ตอบลบ
  49. ลาวโซ่งเป็นชนชาวไทเผ่าหนึ่งครับ เรียกว่า ไทดำ
    ตั้งรกรากอยู่้ในแคว้นสิบสองจุไท ซึ่งค่อนไปทางเวียดนาม เคยเป็นเมืองขึ้นไทยที่อยู่ปลายขอบขัณฑสีมาโน่น
    สมัยสมเด็จพระเจ้าตากสิน พระองค์เคยไปกวาดต้อนชาวไทดำลงมาเป็นแรงงานให้อาศัยอยู่ทางแถบสุพรรณไล่เรื่อยไปจนถึงกาญจนบุรีและสุราษฎธานี ในส่วนของหลวงพะบาง เข้าใจว่าอพยพลงมาหลังเกิดสงครามเวียดนามครั้งแรก
    ที่รบกับฝรั่งเศสในสมรภูมิที่เดียนเบียนฟู

    คำว่าลาวโซ่ง มาจาก ซ่ง ซึ่งเป็นกางเกงดำที่ชาวไทดำนุ่ง คนไทยภาคกลางก็เลยเรียกคนไทดำว่าลาวโซ่ง
    เพราะว่ามาจากสิบสองจุไท ซึ่งเมื่ออดีตคือจังหวัดของอาณาจักรล้านช้าง
    และอาณาจักรล้านช้างก็ประเทศลาวในปัจจุบัน หลังเจ้ามหาชีวิตสว่างวัดทะนา กษัตริย์องค์สุดท้ายพ่ายแพ้ให้พรรคคอมมิวนิสต์ลาว ก็ถือเป็นการสิ้นสุดระบอบกษัตริย์

    พอได้ไหม? คุณม้อย

    ตอบลบ
  50. บางทีคงไม่ถึงกะเดาะฝรั่งหรอก
    แต่เราว่าเค้าลืมตัวน่ะ
    ยกตัวอย่างง่ายๆ นะสาวๆ สมัยนี้ก็ช่างแต่งแบบเปิดเผยเนื้อตัวจนลืมไปว่าไม่ควรแต่งงี้เค้าวัด
    เสื้อซีทรูงี้ เสื้อคอปาดงี้ มินิสเกิร์ต หรือว่ากางกางขาสั้นงี้
    (แม่เรานะ แค่กางเกงยีนส์เอวธรรมดา-ไม่ถึงกะเอวสูง เค้ายังไม่อยากให้ใส่เข้าวัดเลย เค้าบอกเวลานั่งมันโป๊ )

    เราเองยังเคยใส่เสือแขนเลย (ยาวกว่าแขนกุด แต่ไม่ยาวพอจะจัดเป็นแขนสั้น) เข้าวัดพระแก้วเลย
    ทั้งๆ ที่นุ่งกระโปรงมิดชิด แต่ยังโดนไล่ไปยืมเสื้อมาใส่ทับอีกตัว ถึงจะได้เข้า

    เคืองก็เคือง อายก็อายแหละ

    ตอบลบ
  51. พอได้มั้งคุณนักเขียน

    ..ในที่สุดก็เผยโฉมหน้าเสียทีนะ หุ หุ

    ตอบลบ
  52. มันคือสิ่งที่เรียกว่าความเคารพไง พี่ไทยเรามีอารมณ์เหยียดลาว เขมร พม่า อยู่ในทีอยู่แล้ว ทั้งหมดทั้งเพมันมาจากแบบเรียนที่เราเรียนๆ กันน่ะแหละ เฮ้อ บ่นอีกแล้ว

    ตอบลบ
  53. เผยโฉมคุณบ้างสิ เอามาแต่รูปแมวอยู่ได้ หึ หึ

    ตอบลบ
  54. อรัย ..ใครๆ เขาดูกันจนเบื่อ
    เลยต้องเอาเหมียวมาเป็น HS ละไม่ว่า

    ตอบลบ
  55. โฮะ โฮะ .....เห็นด้วยค่าาาาาา >

    ตอบลบ
  56. ขอบคุณมากๆฮับ manois อุตส่าห์ค้นคว้ามาให้
    ขอบคุณ คุณ nithivaragul ด้วยครับ

    เราเป็นโซ่งทางแม่ ตาเป็นโซ่งแบบทรูบลัด ส่วนยายฮาล์ฟบลัดโซ่งครึ่งไทยครึ่ง
    เขาว่าตั้งแต่รุ่นทวดอยู่ราชบุรี แต่คิดว่าถ้าสาวไปลึกๆ น่าจะมาจากเพชรเช่นกัน

    งานศพตาเรา ก็มีคนแก่แต่งชุดดำ ผู้หญิงเกล้ามวยมางานกันเยอะ ส่วนศพตาเรา เขากลับเสื้อให้สวม
    เหมือนกับใส่ในออกนอก ซึ่งเป็นเนื้อผ้าสีสดใส

    และมีเพลงสวดบอกเป็นทำนองว่า กลับบ้านเราเถอะนะ กลับเถอะ โดยบอกทางให้วิญญาณกลับบ้านเก่า ทีละจุดๆ จำไม่ได้แน่ชัดว่ามีที่ไหนบ้าง แต่มันขึ้นเหนือและออกอิสานไปเรื่อยๆ เช่นจากราชบุรี ก็ไปสุพรรณ ไปลพบุรี โคราช ฯลฯ ทำนองนี้ พอพ้นประเทศไทยก็ฟังไม่ค่อยรู้แล้วล่ะ ว่าที่ไหนอีก

    เสียดายตอนนั้น เรามีหน้าที่กับงานศพ เลยไม่มีเวลาถ่ายรูปไว้
    .....สงสัยต้องไปสืบสาวเค้าโครงเดียนเบียนฟูแฮะ
    ( ทำเป็นจริงจังไปงั้นแหละ กะแวะไปอินเทรนด์ที่ซาปา มากกว่า)

    ตอบลบ
  57. เฮ้ยยย เป็นงานศพที่น่าสนใจมาก

    ตาเราเป็นมอญ แม่บอกมาจากบางนางเกรง
    แต่ตอนตาตาย ไม่ได้จัดงานศพมอญ จัดแบบท้องถิ่นอะแหละ
    คือสวด แล้วก็เผา

    ตอบลบ