วันจันทร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

คำคม#๒๐





เด็กสมัยใหม่คิดว่าการเป็นนักเขียนมันง่าย


คล้ายๆ แบบนั้น แป๊บๆ พิมพ์เป็นเล่มแล้ว ง่ายไป ก็เลยไม่ยั่งยืน
กับนักเขียนใหม่ๆ เราบอกอย่าเพิ่งพิมพ์เป็นเล่ม เพราะขายไม่ได้แล้วจะเสียใจ
ให้คนอ่านยอมรับก่อนค่อยพิมพ์ ใจเย็นๆ น่า
หลายคนไม่เชื่อเรา แล้วมาเจ็บปวดภายหลัง
บางคนตั้งตัวเป็นบรรณาธิการเอง คุณภาพไม่ถึง
บางคนเพื่อนเป็นบรรณาธิการ เขียนไม่ดีแกล้งบอกดี แบบนี้ไม่รอด
เมืองนอก ระบบบรรณาธิการเขาดีกว่าเรา







จาก "เสียงพูดสุดท้าย"
บทสัมภาษณ์ 'รงค์ วงษ์สวรรค์ โดยวรพจน์ พันธุ์พงศ์
ในนิตยสารสารคดี ฉบับประจำเดือนเมษายน ๒๕๕๒

14 ความคิดเห็น:

  1. ที่เบื่อที่สุดตอนนี้คือ ดารามาเขียนหนังสือ มันมีสาระตรงไหน
    ความสามารถยังไม่ถึงเลย ภาษาบางคนก็วิบัติ......แล้วจะไปโทษเด็ก
    มันได้ยังไงล่ะทีนี้......ก็ตัวอย่างยังงี้แหละ.........

    คุณค่าวรรณศิลป์ อยู่ตรงไหนยังไม่รู้เลย.....แค่หล่อ+สวย
    ไม่ได้เป็นตัวบอกว่ามีสมองนะ...................................

    อ่านแล้วโดน ขอบ่น.................ถ้าเจ้าของบ้านเห็นว่าเลอะเทอะ
    ลบได้เลยนะครับ ขอโทษด้วยครับ ขอบคุณครับ

    ตอบลบ
  2. อ่า...เชิญบ่นตามอัธยาศัยฮะ
    ไม่ถึงขั้นด่าพ่อล่อแม่หรือแฉใครก็เชิญแสดงอารมณ์กันตามสบายเถอะฮะ

    ตอบลบ
  3. ไปว่าดาราเค้าก็ไม่ถูกครับ
    เพราะเค้าไม่ได้เขียนด้วยซ้ำ55555
    เดี๋ยวนี้เป็นที่ยอมรับกันหน้าชื่นตาบานเลยครับว่าจ้างคนเขียนมาเขียนให้ เป็นเรื่องปกติไปแล้ว

    ตอบลบ
  4. ต้องโทษคนซื้อ ไม่รู้จักเลือกเองนิครับ

    ตอบลบ
  5. พี่ดรีมพูดมีเหตุผล

    ตอบลบ
  6. ผมว่าคุณ รงค์ พูดถูกเลยครับ ตรงที่ว่า ให้เกิด "การยอมรับ" เสียก่อน
    ตรงนี้แหละครับ ที่ผมรู้สึกว่า ส่วนใหญ่แล้วข้ามขั้นตอน
    ไปเข้าใจผิดคิดว่า ถ้าสำนักพิมพ์ตอบตกลงว่าจะพิมพ์ให้ ขายให้
    นั่นแปลว่า ได้รับการยอมรับแล้ว ... ...




    ปล.แว่วๆว่า จะมีการรวมเล่มออกมาเป็นพ็อคเก๊ตบุ๊คนี่ครับ
    สำหรับ ... ... เสียงสุดท้าย โดย สนพ.โอเพ่น

    ตอบลบ
  7. โอเพ่นโหนกระแส
    ส่วนคุณดอมก็พีอาร์แฝง

    อิ อิ

    ตอบลบ
  8. ที่จริงแล้ว ช่องทางการปล่อยของก็มีเยอะแยะไปตามเว็ปบอร์ด ตามบล็อค
    ก็โพสกันไปเถิด..

    ตอบลบ
  9. นั้นน่ะซิ คิดว่ามันง่าย อย่าว่าแต่เด็กเลยผู้ใหญ่ก็คิด

    ตอบลบ
  10. งานเขียนก็ต้องอาศัยเวลาพัฒนาฝีมือ
    อย่างน้อยก็เริ่มเขียน ก็ยังดีกว่าคิดไว้แต่ในหัวแล้วไม่ได้ทำอะนะ

    ตอบลบ
  11. เมืองไทย บก.ที่น่าเคารพและนับถือก็มีอยู่ อย่างคุณเวียง วชิระฯ แห่งสามัญชน หรือลุงสุชาติ สวัสดิ์ศรี
    ส่วนที่แตกต่างระหว่างเมืองนอกกับไทย คือ มีนักเขียนที่ริอยากเป็นบก. เยอะ และ บก.ที่ไม่รู้ว่าหน้าที่ตัวเองคืออะไร
    ก็มีจำนวนพอกัน

    ตอบลบ
  12. เขียนหนังสือนี่ท่าทางเหนื่อยและปวดหัวน่าดู เราว่าวาดรูปง่ายกว่าเยอะ

    นักเขียน ที่คุณ 'รงค์ กล่าวไว้ คงหมายถึงคนที่คิดยึดการเขียนหนังสือเป็นอาชีพจริงจัง ไม่ใช่ผู้ที่ถ่ายทอดประสบการณ์ผ่านรูปแบบหนังสือนะ

    ไม่เช่นนั้น ถ้าต้องรอให้ผู้อ่านยอมรับก่อนแล้วค่อยออกหนังสือได้ ความหลากหลายของหนังสือจะน้อยมากๆ คนส่วนใหญ่จะเสียโอกาสในการเรียนรู้ความคิด เรื่องราวหรือประสบการณ์ดีๆ จากผู้ที่มิได้เป็นนักเขียนอาชีพ

    เราคิดอย่างนี้ เพราะหนังสือที่เราซื้อส่วนใหญ่มันมีเนื้อหาที่เราสนใจอยากรู้ (คนแต่งจะโนเนมก็ช่าง) น้อยเล่มที่ซื้อเพราะชื่อของนักเขียน และเราเองก็ไม่ค่อยได้อ่านนิตยสารด้วย เลยไม่คุ้นกับเวทีที่นักเขียนพัฒนาหรือสร้างตัวตนขึ้นมา ส่วนใหญ่จะรู้จักนักเขียน ก็เมื่อเขามีชื่อเป็นผู้แต่งพ็อคเก็ตบุ๊คแล้วน่ะ

    ตอบลบ
  13. เราว่าแกคงหมายถึงงานวรรณกรรมน่ะ

    ตอบลบ