วันอาทิตย์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2552

MILK : all men are created equal !!!

Rating:★★★★★
Category:Movies
Genre: Drama


ก่อนอ่านขอถามหน่อย ตอนนี้คุณอายุเท่าไหร่กันแล้ว?

ไม่ได้ตั้งใจจะแสดงความก้าวร้าวก้าวล่วงเรื่องอายุ แค่นึกถึงฉากบนเตียง ในคืนที่ Harvey Milk (Sean Penn) กับ Scott (James Franco) หลังจากที่ทั้งสองเพิ่งจะพบกัน ในวันที่มิลค์อายุครบ 40 ปี พอดี

เขาเปรยกับหนุ่มข้างกายว่า 'เป็น 40 ปีที่ไม่เคยทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน’
(“Forty years old and I haven't done a thing that I'm proud of.”)

แต่จากนั้นไม่กี่ปี เขาก็ได้ทำอะไรที่โคตรเป็นชิ้นเป็นอัน ด้วยการทุ่มชีวิตทั้งชีวิต ซึ่งแม้จะเป็นแค่ชีวิตของเกย์ (แถมแฟนล้อว่าแก่แล้วอีก) คนหนึ่งในยุค ’70s ยุคที่สิทธิเสรีภาพของเกย์อเมริกันชนยังไม่มีคนมองเห็น แต่ทั้งๆ ที่มองไม่เห็นทางแห่งความสำเร็จ และทั้งๆ ที่ก็กลัวตายเหมือนคนอื่น แต่ มิลค์ก็สามารถก็ทำให้สิทธิเสรีภาพที่เมื่อวันก่อนไม่มีใครมองเห็น กลายเป็นสิ่งมีตัวตนและกลายเป็นที่ยอมรับ ที่เคารพ เช่นเดียวกัน โดยไม่ได้น้อยหน้าไปกว่าสิทธิของมนุษย์อื่นๆ ที่จ่ายภาษีให้อเมริกาเหมือนกัน

มันเริ่มมาจากความอดรนทนไม่ไหวที่เห็นเกย์ถูกรังแก

“My name is Harvey Milk and I'm here to recruit you!” มิลค์ยืนบนเวที เพื่อเสนอตัวเป็นตัวแทนของเกย์ เขาร้องขอเสียงสนับสนุนจากเกย์ และขอร้องให้เกย์แสดงตัว ให้เลิกเป็นอีแอบ คอยซ่อนตัวแต่ในตู้เสื้อผ้า แต่ออกมาแสดงตัวตนที่แท้จริงให้คนรอบข้างยอมรับ ว่าตัวเองเป็นอะไร..ใช่ เราเป็นเกย์ แต่เราไม่ใช่คนป่วย ไม่ใช่ภาระ เราเป็นคนคนหนึ่งในสังคม ที่ทั้งรับ และให้อะไรๆ กับสังคมได้ไม่ต่างจากคนอื่นๆ


“All men are created equal.” ในมิลค์โค้ตประโยคนี้จากรัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกา “No matter how hard you try, you can never erase those words.” เขาเตือนไม่ให้เกย์ลืมที่จะนับถือตัวเอง ในขณะเดียวกัน เขาบอกเพื่อให้ทุกๆ คนในสังคมฉุกคิดว่า ที่แท้แล้วคนทุกคนมีความเป็นคนเท่าๆ กัน (ในสายพระเนตรของพระเจ้า-มิลค์อาจจะหมายถึงเช่นนี้) ดังนั้น ต้องนับถือคนอื่น เท่ากับที่นับถือตัวเอง--บอกตรงๆ ว่าอิฉันเป็นต่างชาติศาสนาที่นับถือปรัชญาข้อนี้ของชาวอเมริกันมาก ใช่ เราทุกคนมีความเป็นคนเท่าเทียมกัน สมควรจะได้รับเกียรติและศักดิ์ศรีเท่าๆ กัน และไม่มีใครที่สมควรมีสิทธิ์มาแบ่งแยกว่า เราควรได้เท่านี้ คนอื่นควรได้เท่านั้น

(อดไม่ได้ที่จะนึกถึงคำพูดของกัปตันเรือเชลซีผู้มีรอยสักรูปนกฮัมมิ่งเบิร์ดบนต้นแขนใน The Curious Case of Benjamin Button ตอนที่่บอกกับเบนจามินว่า อย่าให้ใครมาบอกว่า คุณ(จะต้อง)เป็นอะไร)

ดูหนังเรื่องนี้แล้ว อิฉันบังเกิดหลายอารมณ์... ตัวลอยไปกับความรักอีกแล้ว (ใช่ แม้จะเป็นรักของเกย์ แต่มันก็เป็นความรักนะ) อึดอัดใจแทนคนกลุ่มน้อย ที่แค่ไม่เหมือนคนกลุ่มใหญ่ในสังคม ก็ถูก discrimination กันง่ายๆ (แต่ในสังคมมักเกิดเรื่องอย่างนี้เสมอ จริงไหม?) รวมทั้งความรู้สึกปลาบปลื้ม ภูมิใจไปกับวิถีการต่อสู้ทางการเมืองแบบอเมริกัน

มันช่างมีคุณค่าที่ยิ่งใหญ่นัก การที่ชีวิตของคนคนหนึ่งแลกได้กับความสามัคคี การรวมกลุ่ม เพื่อที่จะรักและให้กำลังใจกัน ดูแลจิตใจซึ่งกันและกันให้เข้มแข็งอย่างที่เห็นในหนัง

มิลค์ทำได้อย่างไร? เขาเอาเรี่ยวแรงและความเข้มแข็งมาจากไหน?

ดูเหมือนคำตอบจะอยู่ในเทปที่เขาอัดทิ้งไว้
“Without hope, life's not worth living.”



ป.ล. จากคำตอบข้างบน คุณคิดว่า ....ปีของคุณ ได้ทำอะไรให้ตัวเอง 'proud of' หรือยัง?



บันทึก
• หนังเรื่องนี้เป็น Biography ของ Harvey Milk เกย์อเมริกันนักการเมืองผู้ออกมาทวงสิทธิและเสรีภาพแทนเกย์ในยุค ’70s
• ชอบวิธีที่มิลค์จีบสก็อตจังเลย
• ทำไมไม่รู้สึกรังเกียจฉากรัก หรือฉากจูบของเกย์สักนิด แถมอินได้อีก (สงสัยเราจะเป็นสาววายจริงๆ)
• ไม่สงสัยทำไมฌอน เพนน์ ได้ออสการ์ เล่นเป็นดาวน์เราก็เชื่อว่าเป็นดาวน์ เล่นเป็นเกย์ กิริยาอาการก็เชื่อเลยว่าเกย์ จะจูบ จะกอด จะฟัดคู่ขา เราก็เชื่อว่าเขาฟีลอย่างนั้นจริงๆ ช่างเป็นคนที่เกิดเมาเพื่อสิ่งนี้โดยแท้
• หนังเรื่องนี้กำกับโดย Gus Van Sant ผู้กำกับ To Die For แล้วก็ Paris, je t'aime
• เชื่อว่าผู้ชายหลายคนจะพลาดหนังดีเรื่องนี้ เพียงเพราะรับไม่ได้กับฉากรักของเกย์
• ยังคงไม่ได้ดู The Reader...จะอดดูไหมคระเนี่ย?


14 ความคิดเห็น:

  1. น่าดูๆ ยังไม่ได้ดู

    ตอบลบ
  2. ลูกชิ้นเก็บไว้กินตอนสุดท้าย
    reader เลยรอเง้กเลย ฮี่

    ตอบลบ
  3. เห็นใครๆ ไปดูแล้วชมใหญ่
    เราชักไม่อยากดูซะงั้น

    ตอบลบ
  4. พี่ม้อยขา...
    อาจจะไม่เกี่ยวกับหนังสักเท่าไหร่ เเต่ขออนุญาต share ในประเด็นที่ว่า
    อเมริกาบอกว่า All men are created equal.

    หลังจากที่ใช้ชีวิตที่นี่ได้ไม่นานก็รู้ว่า... สร้างภาพ
    เพราะในความเป็นจริงเเ้ล้ว มันไม่มีทางที่เราจะได้รับโอกาสที่เท่าเทียมกับเค้า
    โอกาสที่หยิบยื่นให้ ก็คือสิ่งที่เค้าไม่เอาเเล้ว เเละเค้าก็ไม่มีทางที่จะทำงานอย่างที่เค้าให้เราทำ
    เงินอาจจะหาง่าย เพราะอยู่ที่นี่ให้ทำอะไรก็ต้องทำ เเต่ไม่มีทางเทียบกับเจ้าของประเทศได้
    ถ้าจะอยู่ที่นี่ได้อย่างมีความสุข คงต้องโดน brain wash ให้เป็น slave
    เเล้วก็ทำงานทุกอย่าง ที่เค้าไม่ทำค่ะ นั่นคือที่เค้าเรียกอย่างสวยหรูว่าโอกาสค่ะ

    นึกถึงเเรงงานชนกลุ่มน้อยที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย
    เรา... เป็นเเบบนั้นในสายตาของอเมริกันค่ะ

    ตอบลบ
  5. ไมต้อง(ช่วย)บอกคนเค้าก็รู้(แล้ว)กันทั้งเมือง

    ขอบจัยนะฮะ

    ตอบลบ
  6. ชอบครับ (ย้อนรอย นึกถึงอดีตขึ้นมาเลย)

    และเห็นด้วย เป็นอย่างยิ่ง
    ยังไงก็ประชาชนชั้น 2 ครับ

    ตอบลบ
  7. อดทนนะน้อง
    วันไหนเรียนจบได้กลับบ้าน คงนำประสบการณ์ชีวิตและความเข้มแข็งกลับมาด้วยอีกเป็นตันเลย

    พี่เป็นกำลังใจให้นะ

    ตอบลบ
  8. ขอบคุณค่ะพี่ม้อย

    ตอบลบ
  9. ยังไม่ได้ดูครับ..
    เดี๋ยวไปดูก่อน แล้วจะเข้ามาคุยด้วย

    ตอบลบ
  10. ยังไม่ได้ดูเลยค่ะ...แต่หนุ่มคนนี้ขวัญใจเรา...คงได้ดูในไม่ช้า :D

    ตอบลบ
  11. เป็นคำถามที่หาคำตอบไม่ได้เลย แย่จริง -_-"

    ตอบลบ