วันพุธที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

ชีวิตสัตว์โลก ตอน สอดแนมเกย์

เพราะว่าพ้อน น้องสาวช่างคิดได้ให้การบ้านไว้ในบล็อกที่ทำการรีวิวหนังสือ ตนบุญอัศจรรย์แห่งออซ (http://mandymois.multiply.com/reviews/item/4)

และเพราะว่าก็อยากรู้เองเหมือนกัน เลยให้กูเกิ้ลช่วยหาข้อมูลประวัติศาสตร์ความเป็นมาของเกย์ดู ไปเจอบทความน่าสนใจในวิชาการ.คอม (ที่หน้า http://www.vcharkarn.com/include/article/showarticle.php?aid=17988) เลยขออนุญาตคัดมาให้เพื่อนๆ ใน multiply ได้แชร์กันอีกตามเคย
เนื่องจากบทความดั้งเดิมมี 2 หน้า อีกหน้าหนึ่งเป็นความเห็นจากสมาชิก (ถ้าอยากอ่าน คลิกไปที่ http://www.vcharkarn.com/varticle/17988/2)

ดิฉันไม่ได้ปรับแต่งข้อมูล หรือแม้แต่แก้ไขตัวสะกดในบทความดั้งเดิม เพราะคิดว่าแค่ขอยืมมาให้เพื่อนอ่านกันก็เกรงใจจะแย่แล้วจ้า....

ประวัติศาสตร์ เกย์ ในสยามประเทศ : ที่มาของคำเรียกเกย์ กะเทย ในบริบทสังคมไทย

ชลเทพ ปั้นบุญชู นักวิชาการอิสระด้านสังคม(อดีตนักเรียนด้านสังคมวัฒนธรรม)


สืบเนื่องจากการที่ผู้เขียนได้มีโอกาสเรียนรายวิชา สังคมวัฒนธรรมไทย และรายวิชาสัมนาเพศและวัฒนธรรม ครั้งสมัยยังเรียนในระดับปริญญาตรี หัวข้อหนึ่งที่ผมสนใจก็คือประวัติศาสวตร์จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องเรียนรู้เรื่องราวนอกเหนือจากการสรรเสริญคุณงามความดีของ กษัตริย์ ในอดีต จากพระราชพงศาวสดารที่ถูกเขียนขึ้นอย่างบิดเบือนอันเนื่องมาจากนัยยะทางการเมืองสมัยนั้น จนมาพบกับงานเขียนอันสุดแสนวิเศษอย่าง จิตร ภูมิศักดิ์ ในเรื่องความเป็นมาของคำสยาม งานเขียนของจิตร ได้นำเสนอภาพประวัติศาสตร์จากชนชายขอบ ที่พยายามต่อสู้กับรัฐเพื่อสร้างตัวตนขึ้นมา จากการเหยียดของคนเมือง คนที่อ้างตนเองว่ามีอารยะ งานเขียนจะเน้นวิธีทางปรัชญาประวัติศาสตร์มาซ์กซิส การสร้างจุดยืนระหว่างจุดยุบและจุดแยก และไสตน์การเก็บข้อมูลโดยอาศัยวิชานิรุกติศาสตร์มาอธิบายได้น่าสนใจ จิตร ภูมิศักด์จึงนับเป็นนักประวัติศาสตร์โพสโมเดิร์นที่ผมคลั่งไคล้มาก


แต่ท่านผู้อ่านคงสงสัยว่า จิตร ภูมิศักดิ์ เกี่ยวข้องอะไรกับประวัติศาสตร์เกย์ ในประเทศไทย ตอบได้เลยว่าไม่ใช่โดยตรง แต่วันหนึ่งผมแวะเข้าไปหอสมุดกลาง จุฬา ได้ไปพบ วิทยานิพนธ์เล่มหนึ่ง ซึ่งผมจะนำมาเป็นประเด็นในการอภิปรายหน้าชั้นเรียนในคลาสนั้น คลาสวิชา สังคม วัฒนธรรมไทย วิทยานิพนธ์นี้อยู่ในภาคประวัติศาสตร์ของอักษร จุฬา ซึ่งผมแปลกใจมาก จากสิ่งที่เคยรู้มาในอดีตว่าวิทยานิพนธ์ประวัติศาสตร์จะต้องเขียนถึงเรื่องราวอันเก่าแก่ของกษัตริย์ในสมัยนั้นสมัยนี้ หรือความเก่าแก่ปรัมปราของคนในยุคโบรษณ แต่วิทยานิพนธ์เล่มนี้แปลกที่เขียนเรื่องราวไว้แค่40กว่าปีเท่านั้นเอง ที่สำคัญเป็นเรื่องที่ผมเหลือเชื่อ เพระาเป็นเรื่องวาทกรรม เกย์ ในประเทศไทย ปี2500 -2543 งานเขียนแบบนี้พบเห็นไม่บ่อยนักที่จุฬา แต่อาจพบในธรรมศาสตร์เสียมากกว่า ที่สำคัญงานเขียนชิ้นนี้ใช้นักปรัชญาประวัติศาสตร์ที่ผมชื่นชอบอย่างมิเชล ฟูโกต์ สำนักฝรั่งเศษปลายบูรพาทิศ ไสตน์การเขียนประวัติศาสตร์โพสต์แบบนี้ผมเห็นมีแต่อาจารย์นิธิ เท่านั้นที่ชอบเขียน แต่นิสิตป โทผู้นี้เก่งจริงๆครับทั้งในเรื่องการเก็บข้อมูล การใช้เอกสาร ที่ผมแทบไม่อยากเชื่อว่า หนังสือพิมพ์ หรือหนังสือเกย์ก็เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ได้


ปฐมบทแห่งคำนิยาม เกย์ หรือกระเทย เริ่มขึ้นไม่นานนัก แต่การรักร่วมเพศนี้มีมานานแล้ว วิทยานิพนธ์เล่มนี้เท้าความสมัยโรมมัน ที่ทหารโรมัน มีการรักร่วมเพศกันอย่างเอิกเริก ในยุโรปก็ปรากฎมาในหลายๆสังคม แต่ในสังคมไทยแล้วที่พอจะปรากฎ ก็สมัยช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ที่พระอนุชาร.1กรมหลวงรักษ์รณเรศมีพฤติการณ์ส่อไปในทางรักร่วมเพศ เป็นที่โจทย์จันไปทั่วราชสำนัก สร้างความเสื่อมเสียให้กับราชวงศ์ยิ่งนัก โดยพระองค์โปรดละครนอก และมีการเรียกตัวแสดงมาร่วมเสพสังวาส จนเป็นเหตุให้รัชการที่ 3 สั่งประหารเนื่องจากเป็นกบฏมักใหญ่ใฝ่สูง แต่หลักฐานที่ไม่แน่ชัดชวนให้คิดในสมัยอยุธยาที่พระมหากษัติริย์ผู้มีพระนามเกรียงไกรทั้วหล้า ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นผู้เคร่งครัดในประเพณีใรราชสำนักแบบเทวราชาพระองค์หนึ่ง ทำไมถึงแต่ตั้งชาวต่างประเทศเชื้อสายกรีก ฝรั่งเศษ ผู้หนึ่งขึ้นมาเป็นมหาเสนาบดี มีอำนาจตัดสินพระทัยแทนพระองค์ในพระราชกรณียกิจได้ จนทำให้ฝ่ายขุนนางไม่พอใจการกระทำของพระองค์ถึงกับบุกทลายพระราชวังอันสวยงาม ที่สร้างไว้อย่างหรูหรานี่คือเกร็ดประวัติศาตร์หนึ่งที่ผู้เขียนต้องการที่จะนำเสนอไว้


ในสังคมไทยปรากฎคำว่ากะเทย ไว้ในพจนานุกรม แปลว่าสัตว์สองเพศ หรือผู้มีอวัยวะสองเพศ หรือไม่มีเพศ หรือสำคัญตนผิดไปจากร่างกายที่เป็น เช่นร่างชาย แต่มีจิตใจปและการกระทำเป็นหญิง ส่วนความเข้าใจเรื่องgay นั้นได้หมายถึงกลุ่มรักร่วมเพศชาย นอกจากนั้นยังมีคำต่างประเทศ อย่าง hamerpodrite ที่หมายถึงกระเทย หรือhomosexual หมายถึงการรักร่วมเพศ ซึ่งแตกต่างกับheterosexual กระเทยได้ถูกใช้แพร่หลายกับกลุ่มผู้ที่มีพฤติกรรม ลักษณะนิสัย หรือการแต่งกายคล้ายหญิง และสำคัญตนเองว่าเป็นผู้หญิง ที่ชอบผู้ชาย ทั้งที่ตนเองอยู่ในร่างกายผู้ชาย แต่คำว่า เกย์ได้ถูกใช้แพร่หลายจากชาวต่างชาติที่เข้ามาเมืองไทย ดังกรณีนักข่าวผู้มีข่าวพาดหัวใหญ่คือนายบริแกน ได้มีการอ้างอิงถึงเกย์ ที่มีลักษณะปรกติเหมือนผู้ชายแต่มีจิตใจชอบผู้ชายและมีเพศสัมพันธ์กับผู้ชาย หลังจากนั้นก็มีการพูดถึงคำว่าเกย์ โดยมีการนิยามคำว่า เกย์ควีน จากคุณยศวดี เจ้าของผับย่านพัฒน์พง ที่แต่งตัวเป็นหญิง ใส่กระโปรง ที่เรียกตนเองว่าเป็นกลุ่มหนุ่มรักชาย เรียกสรรพนามว่าผม และลงท้ายด้วยครับ และไม่นิยมกระเทย โดยบอกว่าเป็น พวกที่ต่ำกว่า สังคมไม่ยอมรับ เพราะบางทีเกย์ต้องอยู่ในสังคม และมีคำว่า เกย์คิง ซึ่งในสมัยนั้นเป็นชาวต่างประเทศที่ชอบเป็นฝ่ายกระทำ หรือแสดงบทบาทสามี โดยมีกระเทยชื่อดังอย่างรัชนกณ เชียงใหม่ เป็นกระเทยที่เป็นนักแสดง ถึงขนาดจะจัดงานประกวศนางสาวสยามประเภทสอง โดยมีกะเทย รัชนก กับ เกย์ควีนอย่าง ยศวดี


ผู้เขียนพยายามจะชี้ให้เห็นว่ากะเทย และเกย์ควีนเมือ่สมัย30กว่าปีก่อนมีลักษณะไม่ต่างกัน แต่มีสถานภาพที่ต่างกัน โดยจะให้คำนิยาม เกย์มีรสนิยมที่สูงกว่า แต่มาสมัยหลังจานั้นไม่นาน เริ่มมีการเปรียบเทียบระหว่าผู้ชายเกย์ไม่ต่างกัน อาจต่างกันแค่พฤติกรรมเพศสัมพันธ์ นอกจากนั้นยังมีกลุ่มคนบางคนที่สามารถมีความสัมพันธ์ทางเพศได้ทั้งชายและหญิง และที่สำคัญบางคนยังมีครอบครัวแล้ว จากการขอคำปรึกษาในนิตสารแปลกซึ่งถือว่ามีการตอบปัญหา และการใช้พื้นที่สื่อของสังคมเกย์ บางคนมีการแต่งงานบังหน้า เพราะกลัวการโจทย์จันของสังคม โดยแท้จริงแล้วไม่ได้มีความสุขในชีวิตคู่ ที่ทำไปเพราะหน้าที่ทางสังคมบีบบังคับ และสอดคล้องกับวรรณกรรมของกฤษณา อโศกศิน ที่เขียนถึงความรักเกย์ ที่คนทั่วไปดูไม่รู้เลยว่ามีพฤติกรรมเบี่ยงเบนทางเพศ เพราะดูลักษณะทุกอย่างสมบูรณ์แบบชาย แต่มีจิตใจชอบชายด้วยกันซึ่งได้อธิบายถึง หนุ่มไฮโซ ฐานะทางสังคมสูง มีการงานที่ดี เพรียบพร้อมไปทุกด้าน หากแต่มีจิตใจรักชายด้วยกัน ภาพลักษณ์ เกย์ในที่นี้น่าจะหมายถึงกลุ่มหนุ่มนักเรียนนอกที่ไปได้รับอิทธิพลจากต่างประเทศ ในทางการแพทย์ยุคนั้นจัดกลุ่มรักร่วมเพศอยู่ในกามวิตรถาน มีความผิดปรกติและเบี่ยงเบน จากปมปัญหาการปรับตัวทางสิ่งแวดล้อมและบุคลิกภาพ โดยอาศัยทฤษฎี odipus จากความขัดแย้งในบทบาทและการยอมรับของกระบวนการเลี้ยงดูในครอบครัว


แต่ในปัจจุบันการ วิวัฒนาการเกย์ยิ่งซับซ้อนขึ้น จากการศึกษา ในหนังสือเบิกทวาร และงานเขียนของอาจารย์นิธิว่าด้วยเพศ เผยให้เห็นว่า เกย์มีคำศัพท์ที่หลากหลายและมีการใช้คำเฉพาะกลุ่ม ซึ่งได้สร้างวัฒนธรรมของตนขึ้นมา ให้แตกต่างกับวัฒนธรรมหลัก ปัจจุบันจะเห็นได้ว่ามีการเรียกเกย์ หลายแบบ และแตกต่างกับกะเทย คำนิยามเกย์ในปัจจุบันจึงประกอบด้วย เกย์คิง ซึ่งมีบทบาทเป็นฝ่ายกระทำ พฤติกรรมอาจกระตุ้งกระติ้ง หรือไม่ก็ได้ ซึ่งแล้วแต่ละบุคคล เกย์ควีน หมายถึงผู้ถูกกระทำ อาจกระตุ้งกระติ้งหรือไม่ก็ได้แล้วแต่บุคคล โบทคือผู้ที่ปฏิบัติการมีเพศสัมพันธ์ได้ทั้งกระทำและถูกกระทำ คิงรุก คือเกย์ที่มีลักษณะเหมือนผู้ชายทุกประการหรือใกล้เคียงที่สุด ชอบมีเพศสัมพันธ์เป็นผู้กระทำ คิงรับคล้ายกับคิงรุกแต่เป็นผู้ถูกกระทำ ไบรับหมายถึงสามารถมีอะไรกับผู้หญฺงได้ แต่หากผู้ชายจะชอบเป็นฝ่ายรับมากกว่า ไบรุก แสดงบทบาทเป็นผู้กระทำทั้งหญิงและชาย ไบโบท หมายถึงผู้หญิงและผู้ชายก็ได้และถ้าผู้ชายเป็นได้ทั้งผู้กระทำ และถูกกระทำ สาวเสียบ หมายถึงคนที่กระตุ้งกระติ้งไปทางผู้หญิงมาก แต่เป็นฝ่ายกระทำผู้ชาย กะเทยหมายถึงผู้ชายที่มีจิตใจเป็นหญิง ทั้งพฤติการ นิสัย การกระทำ และอยากเป็นผู้หญิงโดยสมบูรณ์(รวมไปถึงการมีบุตรได้จริงๆ)นอกจากนั้นยังมีการนิยามศัพท์เฉพาะขึ้นใช้ในกลุ่มเกย์เช่น เล่นบาส คือการออรัลเซ็กส์ ข้างหน้าหอยสังข์ข้างหลังหอยแครง คือมีเพศสัมพันธ์ได้ทั้งหญิงและชาย ล้างตู้เย็นคือการทำความสะอาดทวารด้วยลิ้น และอื่นๆอีกมากมาย โดยผู้ที่อยู่ในกลุ่มจะเขจ้าใจคำเหล่านี้


ข้อสังเกตหนึ่งที่ผมเห็นคือศัพท์เฉพาะทั้งหลายแหล่จะบ่งบอกถึงการมีเพศสัมพันธ์หรือการแบ่งประเภท นอกเหนือจากการพรรณนาด้วยความงามทางภาษา เช่นฉันรักเธอ ก็ใช้คำว่าเล่นกัน ซึ่งอาจารย์นิธิให้ความเห็นว่า มันเป็นการแสดงกริยาที่ไม่มีความลึกซึ้ง ทำให้คนมองภาพย์ลักษณ์เกย์โดยทั่วไปว่า เป็นความสัมพันธ์แบบฉาบฉวย เป็นเพียงแค่การตอบสนองทางเพศที่หลากหลาย หรือหมกมุ่น ไม่จีรังยั่งยืน ทำให้เกย์ที่มีความปรารถนาในรักแท้อาจจะถูกมองได้ว่าเป็นแบบนั้นไปทั้งหมด หรือเหมารวม แต่ผมกับค้นพบว่ายิ่งสังคมที่ซับซ้อนขึ้น หรือเป็นสังคมเมืองขึ้น วาทกรรมเกย์ หรือการนิยามจำแนกหรือประเภทจะมากขึ้นตามลำดับ ความคิดที่ซับซ้อนของมนุษย์ในกลุ่มเกย์กับสร้างวัฒนธรรมของตนเองตามระบบความคิดอย่างลึกล้ำจนคนทั่วไปแทบตามไม่ทัน และที่สำคัญการสื่สารที่กว้างขวางเข้าถึง กำลังจะขมวดลักษณะเกย์ทั้งในชนบท และสังคมเมืองให้ไม่แตกต่างกันมากนัก เรียกได้ว่าโลกาภิวัฒน์ได้กลืนกลายวัฒนธรรมเกย์ให้มีหน้าตาที่คล้ายๆกันนั่นเอง

10 ความคิดเห็น:

  1. สื่อเดี๋ยวนี้มีแต่เรื่องเกย์ ๆ
    อะไรที่ผิดธรรมชาติมันเป็นที่สนใจเสมอ
    แต่ว่า มุสลิมนี้ถ้าเคร่งครัด ใครเป็นเกย์นี่ มีโดนประหาร

    ตอบลบ
  2. เคยอ่าน เขาศึกษาพฤติกรรมสัตว์หลายชนิด พบว่ามีสัดส่วนสัตว์ที่เป็นเกย์ หรือ เบี่ยงเบนอยู่ส่วนหนึ่งเสมอ เขาสรุปทำนองว่า มันเป็นเรื่องของยีนด้วย

    แสดงว่าเรื่อง เกย์ น่าจะเป็นเรื่องผิดวัฒนธรรม ความเชื่อ มากกว่าผิดธรรมชาติ

    ตอบลบ
  3. ไม่ว่าเราจะยอมรับว่า "ปรากฏการณ์เกย์" เป็น error เป็น fault หรือเป็น mistake ก็ตาม
    ดิฉันสงสัยว่า กี่เปอร์เซ็นต์นะ ที่เราจะรับได้
    0.3%
    1 %
    7%
    หรือ 10%

    ว่าแต่ว่าอัตราส่วนระหว่างชายโสดกับหญิงโสดตอนนี้มันเป็นเท่าไหร่กันนะ?

    ตอบลบ
  4. ยังไงว่ะเอ็ง
    ทำไมต้องถามว่าแค่ไหนจะรับได้
    ถ้ารับไม่ได้แล้วจะทำยังไง

    ตอบลบ
  5. "รับไม่ได้?"
    ก็เรื่องของเมิงไง

    (ฮิฮิ)
    เรื่องแบบนี้ ถ้าไม่อยากเป็นทุกข์ก็ต้องทำใจเฟ้ยเอ็ง (ทำอะไรไม่ได้ ก็ทำใจซะไง-จำได้ไหม?)
    สิ่งใดเกิดขึ้นแล้ว สิ่งนั้นดีเสมอ พระท่านว่าไว้

    ยกเว้นแฟนเราทิ้งเราไปหาผู้ชาย-อย่างนี้คงไม่น่าจะ "ดีเสมอ"

    ป.ล. วันนี้ต้องพูดจาสุภาพและเป็นมงคลนะ

    ตอบลบ
  6. อ่านแล้วเหนื่อยว่ะ
    สงสัยด้วยว่าทำไมมันถึงได้ยุ่งยากอย่างอย่างนี้ (อาจเพราะสังคมยังไม่ยอมรับเต็มที่)
    ...
    ขอบคุณมากค่ะ ที่อุตส่าห์หามาให้อ่าน
    ...
    แต่ก็ได้ข้อสรุปว่า เปิดเฉพาะกลุ่มที่ยอมรับความเป็น "เกย์" ได้ - - ยังไงก็ต้องยอมรับว่า คนที่เขามีเพศความคิดไม่ตรงกับร่างกายยังไงก็เป็น second tier อยู่ดี ... ทั้งที่ยังทำงาน ทำอย่างอื่น (ที่ไม่เกี่ยวกับเพศ) ได้อย่างปกติ

    ปล. บางที่ คนที่มีเพศความคิดไม่ตรงกับร่างกายอาจจะมีตั้งแต่สมัยที่เราเริ่มเรียกตัวเองว่ามนุษย์ ก็ได้ ^ ^

    ตอบลบ
  7. เรื่องของเอ็งดิ ไม่ใช่เรื่องของข้า
    เพราะเอ็งเป็นคนถามนี่ ว่า แค่ไหนจะรับได้

    เรื่องนี้ข้าไม่ทุกข์อยู่แล้ว จะเป็นอะไรก็เป็นไป ถือว่าเพศทางกายภาพมีอยู่สอง คือ ชาย-หญิง
    ส่วนพฤติกรรมก็เป็นอีกเรื่อง แล้วแต่ใครชอบ

    ปล. แต่ถ้ามีลูก ขออย่าให้มันเป็นเลย

    ตอบลบ
  8. จากกระแสวงการภาพยนตร์ไทยในปัจจุบัน มากกว่า 80% เป็นหนังผิดเพศ
    และแทบจะ 100 % ต้องมีเพศที่ 3 มาเป็นตัวแสดง
    ไม่เว้นแม้แต่ในละคร
    เป็นการส่งเสริมให้ผู้ดูและผู้ชม ค้นพบตัวเองเร็วขึ้น... รึเปล่า...

    ตอบลบ
  9. ค้นพบตัวเองซะทีก็ดีนะคะ

    ตอบลบ
  10. น่าจะถามเจ้เพ็ญดูอีกคนนะ

    ตอบลบ