วันจันทร์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2551

วิถีคนกล้า: เรื่องเล่าจากโลกของผู้ชาย

Rating:★★★
Category:Books
Genre: Other
Author:มาลา คำจันทร์
"ข้าถามจริงๆ เถอะหนะมี สูไม่กลัวตายหรือ?"
"ไม่กลัว เป็นแม่ย่ามีแต่ได้ ไม่มีเสีย ข้าจะกลัวอะไร ข้าเป็นสาวอย่างมากพ่อข้า็ได้แพะห้าตัว เมื่อมีคนมาขอ ถ้าข้าเป็นแม่ย่า ข้าจะได้ห่วงคออันหนึ่ง ได้แพะสิบตัว สูเป็นสาวสูลงข่วงไม่ได้อะไร แต่ถ้าข้าเป็นแม่ย่า ข้าลงข่วงข้าได้มีด ได้ขอ ได้เคียว สูเป็นสาวสูต้องตามใจผู้ชายทุกคน ข้าเป็นแม่ย่าผู้ชายทุกคนต้องตามใจข้า สูเป็นสาว สูจะได้ใครมาเป็นผัวก็ไม่รู้ ข้าเป็นแม่ย่า ข้าจะได้ปู่แถนมาเป็นผัว"
"แต่มันแก่ แก่กว่าพ่อสูเสียอีก"
"มันแก่แต่มันอยู่ดีกินดีกว่าใคร"
"อีกหน่อยพอมันเบื่อมันก็ขายสูไป"
"ถึงมันไม่ขายพ่อข้าก็ขายอยู่ดี"

วิถีคนกล้า เล่าถึงการตีความคำว่า "คนกล้า" ก็จริง แต่ก็มีประเด็นแฝงที่เล่า้ถึงชีวิตลูกผู้หญิงในสังคมที่มีชายเป็นใหญ่ดังบทสนทนาของตัวละครที่คัดมาไว้ข้างต้น

คนเผ่านี้ีเลือก "แม่ย่า" จากเด็กสาวที่มีรอบเดือนครั้งแรกในช่วงเวลาที่กำหนด แม่ย่านี้ นอกจากเป็นการเสี่ยงทายผลการเพาะปลูกในปีนั้นๆ แล้ว ยังได้รับหน้าที่แสนสำคัญ และมีเกียรติยิ่ง ก็คือ การ "ลงข่วง" กับผู้ชายทั้งหนุ่มและแก่ในหมู่บ้าน ซึ่งบ้างก็ขนข้าวของ บ้างก็แรงงานมาแลกกับการได้ xxx กับเธอ

สังคมของคนเผ่านี้เป็นสังคม freesex ก่อนที่ผู้หญิงคนหนึ่งจะมีผู้ชายมาสู่ขอไปเป็นเมียอย่างเป็นทางการ นับจากเริ่มมีรอบเดือนแล้ว เขาจะเปิดรับผู้ชายทุกคน โดยการตามไฟต้มน้ำสมุนไพรไว้ที่ชานบ้านทุกๆ คืนข้างขึ้น ชายใดที่มาแอ่วหาแล้วคุยถูกใจกัน เขาจะรินน้ำให้ดื่มเป็นสัญญาณเซย์เยส แล้วผู้หญิงก็จะตามผู้ชายไป "ลงข่วง" กันตามสุมทุมพุ่มไม้

และจะประพฤติอย่างนี้เรื่อยไปจนกระทั่งตั้งท้อง จากนั้นก็จะมีผู้ชายคนหนึ่งมาสู่ขอไปเป็นเมีย

เมื่อนั้น วงจรอนาถของชีวิตลูกผู้หญิงก็จะเริ่มวนเป็น loop
ผู้หญิงมีหน้าที่ออกลูก แล้วก็เลี้ยงลูกไปพร้อมๆ กับออกไปทำไร่ไถนา ทอเสื้อผ้าไว้ใช้ และปลูกฝิ่น ซึ่ง แน่นอนว่าคนสูบฝิ่นก็คือฝ่ายชาย เมื่อติดฝิ่นแล้วก็จะรอกินข้าวกินน้ำจากหยาดเหงื่อแรงงานสตรีเพียงถ่ายเดียว ตกกลางคืนสูบฝิ่นแล้วครึ้มก็สามารถออกไปลงข่วงกับสาวอื่นได้ ไม่มีความผิด

ถ้าได้ลูกชาย เขาก็อาจจะให้เลี้ยงแพะ หรือฝึกให้จับดาบเป็นนักรบไป แต่หากได้ลูกสาวก็เท่ากับมีแรงงาน เขาจะเลี้ยงลูกโดยหวังว่าลูกจะมีบุญวาสนาพอได้้เป็นแม่ย่า เมื่อนั้นพ่อแม่จะได้็เรียกเอาสินสอดแพงๆ จากผู้ชายที่มาขอ เพียงเพื่อให้ลูกตัวเองไปทำงานปลูกข้าวให้ผัวกิน แล้วก็ออกลูกมาอีก อย่างนี้เรื่อยไป

ต่อใหู้้หญิงนั้นได้รับเกียรติยศสูงสุดในชีวิตลูกผู้หญิงคือ ได้ัรับเลือกเป็นแม่ย่า ชีวิตก็หาได้หลุึดพ้นจากวงจรนี้ ยังคงต้องทำงานเลี้ยงผัวและลูก คลอดลูกให้ผัวไม่ผิดไปจากหญิงทั่วไป หากผัวเบื่อ ขายให้ชายอื่น ก็ไม่มีอะไรแปลกใหม่ แค่เปลี่ยนผัวใหม่ ภาระหน้าที่ยังเหมือนเดิม

ครั้นจะลงจากเรือน ไปหาลงข่วงกับผู้บ่าวเยี่ยงที่ผัวตัวกระทำก็ไม่ได้อีก ผิดรีต

น่าอนาถใจแท้
อนาถไปคนละแนวกับสตรีไทยที่ป้าเบียบหวังจะให้รักษาเวอร์จิ้นจนกระทั่งคืนส่งตัว

เกิดเป็นหญิงแท้จริงแสนจะกลุ้ม
(หรือใครจะเถียง?)





"วิถีคนกล้า" เป็นนิยายเรื่องดัง ซึ่งเคยถูกนำไปทำหนังใหญ่มาแล้ว เขียนโดยมาลา คำจันทร์ เจ้าของรางวัลซีไรต์ จาก "เจ้าจันทร์ผมหอม นิราศพระธาตุอินทร์แขวน" ในปี ๒๕๓๔

ไม่ใช่นิยายเรื่องแรก แต่เป็นเรื่องที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นเรื่องที่ ๗ ในปี ๒๕๒๗ ซึ่งนั่นก็เป็นเวลาถึง ๗ ปีก่อนผู้เขียนจะได้รับรางวัลซีไรต์ ดังนั้น หากจะหวังให้วิถีคนกล้า เป็นวรรณกรรมที่สมบูรณ์แบบเช่นเดียวกับเรื่องที่ได้รางวัลก็คงเป็นไปได้ลำบาก ที่พูดอย่างนี้ไม่ได้มั่ว ก็ก่อนหน้านี้ดิฉันได้อ่าน 'เมืองลับแล' ซึ่งพิมพ์ครั้งแรกในปี ๒๕๓๘ มาก่อน สัมผัสถึงพล็อตเรื่องที่สนุก เนียน และมีความลงตัวกว่านี้เยอะอยู่ (แอบมีฉากอัศจรรย์สยิวกิ้วเล็กน้อยพอขนลุกเสียด้วย)

อย่างไรก็ตาม แม้จะรู้สึกว่า วิถีคนกล้า ยังแหว่งเว้า ขาดความสมบูรณ์ในบางมิติ แถมยังจบไม่เท่เท่าที่ควร ทั้งๆ ที่วางพล็อตไว้อย่างน่าสนใจ แต่การได้อ่านนิยายเรื่องนี้ก็ทำให้ดิฉันอดนึกภูมิในตัวนักเขียนท่านนี้แทนคนเมืองอื่นๆ ไม่ได้

ก็ถ้ามาลา คำจันทร์ไม่หยิบเอาเรื่องเล่า ความเชื่อ วิถีชีวิตดั้งเดิมของกลุ่มคนที่อาศัยอยู่ในดินแดนล้านนามาเล่าผ่านงานเขียนของเขา ต่อจากนี้อีก ๒๐-๓๐ ปี ลูกหลานเราก็คงไม่ได้รู้จักเรื่องพวกนี้หรอก


วิถีคนกล้า
โดย มาลา คำจันทร์
ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๕
โดยสำนักพิมพ์ต้นอ้อ แกรมมี่ (ตอนนี้ไม่มีแล้ว)
หมายเหตุ ได้มาจากกองหนังสือเก่าที่เอามาขายเล่มละ ๒๐ บาท บนสถานีรถไฟฟ้าอ่อนนุช

10 ความคิดเห็น:

  1. เอ็งว่า ถ้าให้คนที่เป็นแม่ย่าหรือผู้หญิงในหมู่บ้านนั้น ไม่ใช่ มาลา คำจันทร์ เป็นคนเขียน ความอนาถของชีวิตหญิงมันจะเหมือนกันเปล่า

    ตอบลบ
  2. คนเขียนเค้าไม่ได้เล่าแบบอนาถวิถีชีวิตผู้หญิงนะเว้ยเอ็ง

    เค้าก็เล่าของเค้ากลางๆ ไม่ได้สั่นคลอนหรือปลุกอารมณ์คนอ่าน(สตรี)ให้ลุกฮือ ไม่ได้ยกย่อง หรือแม้แต่เหยียดหยามผู้หญิง

    แต่เป็นข้าเองที่รู้สึกอนาถ

    ส่วนเรื่องที่เอ็งอยากรู้ว่าคนเคยเป็นแม่ย่ารู้สึกอย่างไรกับชีวิต เอ็งมาเอาไปอ่านได้เลย เค้าเล่าไว้แล้ว

    ตอบลบ
  3. อ่านแล้ว ลืมแล้ว
    ไม่มีอะไรหรอกเอ็ง แค่สงสัยว่าสมมติว่ามีแม่ย่าที่เกิดในสมัยนั้นจริง เขาจะรู้สึกยังไง
    เพราะแม่ย่าในเรื่อง เป็นแม่ย่าที่เขียนโดยมาลา ไม่ใช่คนตรงนั้นจริงๆ
    เรื่องที่เอ็งรู้สึกอนาถ จะเหมือนกับที่คนตรงนั้นรู้สึกหรือเปล่า (ประมาณว่า เวลาและเงื่อนไขทีเปลี่ยน ทำให้คนสองยุคมองเหมือนกันเปล่า)

    ตอบลบ
  4. มันก้อเปนวัฒนธรรมของเค้าอะนะ ผมว่า

    ตอบลบ
  5. อ่อ

    เห็นทีจะไม่เหมือน
    เพราะเป็นสตรีที่มาจากสังคม freesex ต่างบริบท และต่างยุคกัน

    อย่างน้อยข้าก็คงไม่ได้รักผัวมากจนยอมทำงานเลี้ยงมัน หรือรักมากจนยอมให้มันออกไป "ลงข่วง" กับหญิงอื่นได้โดยไม่มีปากไม่มีเสียง
    แล้วถ้าจะ "ลงข่วง" กับใครก็อยากจะได้เลือกบ้าง นิดๆ หน่อยๆ ก็ยังดี

    ไม่ใช่ใครเอาข้าวของมาให้ ก็สามารถนอนกะมันได้อย่างสะดวกโยธิน

    ป.ล. แอบนึกว่าเรานี้ช่างโชคดี ที่เกิดมาใต้บวรพุทธศาสนา เอ๊ย อันนั้นก็ใช่ แต่จะบอกว่าโชคดีที่เกิดมาในสังคมนี้
    ถึงจะบวชไม่ได้ นิพพานลำบาก ก็ยังนับว่าทัดเทียมผู้ชายในหลายๆ ทางอยู่

    ตอบลบ
  6. ความไม่ทัดเทียมอันไหนที่เอ็งว่า ต้องแก้

    ตอบลบ
  7. แก้ตรงใจผู้ชาย
    ช่วยเปิดๆ รับผู้หญิงบ้าง

    ตอบลบ
  8. พูดยังกะว่า ใจชาย เป็นเหตุแห่งความไม่เท่าเทียมของชายหญิง

    ตอบลบ
  9. คุยกันเรื่องนี้น่าชวนคุณป้า ม. มาคุยด้วยว่ะ
    ข้าชักขี้เกียจเถียงแระ
    เฟดดีกว่า

    ไอ้เรื่องชาย-หญิงนี่ ถ้าต่างคนมองจากมุมของตัวเองมันก็เห็นแค่ภาพที่ตัวเองเห็นอะแหละว่ะ

    ตอบลบ
  10. ไม่รู้ป้าเบียบจะคิดยังไง

    ตอบลบ