วันจันทร์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2551

คันปาก-อยากบอกต่อ ตอน จิตวิทยาโลกร้อน


คำเตือน: บล็อกนี้ซีเรียส ใครไม่อ่านก็ถอยไป!

กระแสการตื่นตัวต่อปัญหาโลกร้อนกำลังมาแรง...จริงหรอ?

ใครๆ ก็พูดเรื่องโลกร้อน เอาการเสนอตัวแก้ปัญหาโลกร้อนมาเป็นส่วนหนึ่งในนโยบาย CSR ขององค์กร
บรรดาวัยรุ่นกิ๊บเก๋ที่ปรากฏตัวบนรถไฟฟ้าบีทีเอส รถใต้ดิน สยาม สวนจตุจักร  พากันหิ้วถุงผ้าฟอกบ้างไม่ฟอกบ้างที่พะยี่ห้อว่า "อะฮั้นไม่ใช่ถุงพลาสติกนะยะ" บ้าง "บอกเลิกถึงพลาสติกบ้าง"
(แต่ในมือของพวกเขา บ้างก็ยังกำแก้วพลาสติกใส่แฟรปเป ไม่ก็น้ำผลไม้ปั่นราคาแพงจากร้านกาแฟดัง บางทีก็หิ้วถุงพลาสติกใสที่ภายในมีกล่องโฟมบรรจุอาหาร)
พวกแม่ค้าแม่ขายก็ยังรักความสะดวกและความประัหยัด (ต้นทุนของตัวเอง ) ด้วยการพึ่งพาภาชนะพลาสติกและโฟมต่อไป โดยไม่นำพาว่าไอ้ของพวกนั้น พอไม่ใช้แล้วมันไปไหน
มิหนำซ้ำ ยังหัวเราะเยาะเย้ยลูกค้าบางคน (เยี่ยงเดี๊ยน) ที่พกกล่องใส่อาหารไปใส่อาหารที่ซื้อจากพวกเขา

เพียงเพราะเทรนด์ของสังคมตอนนี้มันคือ ใช้่ถุงผ้า ลดโลกร้อน เหมือนว่าใครไม่มีหิ้วจะเห่ยมาก
(ไม่ใช่การพกกล่องใส่อาหารไปซื้ออาหารเทคโฮม อาจเพราะยังไม่มีแฟชั่นดีไซเนอร์ดังออกแบบกล่องอาหารกิ๊บเก๋สำหรับพกไปซื้ออาการเทคโฮม)
..แต่ การใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติกมันช่วยลดฯได้ไง เขาเข้าใจตรรกะนี้ไหม เดี๊ยนยังสงสัย

บางทีเดี๊ยนก็สงสัยว่า การรณรงค์เรื่องโลกร้อนกันโครมๆ ทุกวันนี้ มันได้ผลจริงหรือ?
มีคนในสังคมสักกี่เปอร์เซ็นต์ที่เข้าใจตรรกะของโลกร้อนจริงๆ
และมีเท่าไหร่ในกลุ่ีมคนที่เข้าใจ ที่รู้ว่าควรทำตัวยังไงให้รบกวนโลกให้น้อยลง (รบกวนเท่าที่จำเป็นก็ได้เอ้า)
...เพราะว่าคนที่ลงมือทำสิ่งที่ควรทำ และพอจะทำได้ (เรียกว่าคนที่ไม่ได้ "ดีแต่พูด" นั่นเอง) เพื่อรบกวนให้โลกให้น้อยลง คงจะยิ่งมีน้อยยยยยยยยย ลงไปอีก

ช่วยไม่ได้หากคุณเผลอตัวอ่านมาถึงตรงนี้แล้ว โปรดอย่าเศร้าใจ แต่จงอ่านต่อไป เพราะจากข้อเขียนบรรทัดต่อๆ ไปนี้ คนรักสิ่งแวดล้อมอย่างคุณ (ถ้าไม่ใช่ก็เสียใจด้วย) อาจจะเก็ตอะไรเจ็บๆ คันๆ ตอกย้ำ ซ้ำเติมให้เราได้บ่นกันอย่างเมามันยิ่งขึ้น

พอดีเดี๊ยนได้อ่านสารคดีเล่มล่าสุด "วิถีเปลี่ยนโลกด้วยมือเรา" (ช่างเป็น Theme ที่กล้าหาญอะไรปานนั้น) ปกขาว ไม่เคลือบยูวี (ดี-ประหยัด-ไม่รบกวนโลก) ยังอ่านได้ไม่เท่าไหร่เพราะเป็นคนอ่านหนังสือช้า แต่ได้อ่านคอลัมน์ จิตวิทยา ของหมอประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ ที่ตอนนี้ตั้งชื่อว่า "จิตวิทยาโลกร้อน" (หน้า ๙๔) แล้ว จะขออนุญาตคัดลอกตอนเด็ดแทงใจมาให้คุณที่รักในมัลติพลายได้อ่านกันบ้าง

"ผมมีโอกาสอ่านการ์ตูนเรื่องโลกร้อนที่ส่งมาจากหลายสถาบัน พบว่าทั้งหมดเป็นการ์ตูนประเภทให้ความรู้เรื่องโลกร้อน บ้างให้ตรงๆ เหมือนแบบเรียนสังคมศึกษา บ้างให้ตัวการ์ตูนสักกลุ่มหนึ่งผจญภัยไปในดินแดนต่างๆ ที่ได้รับผลกระทบจากโลกร้อน ที่น่าหนักใจคือ ทุกเรื่องออกแนวสั่งสอนให้ประหยัดไฟ อย่าเปิดตู้เย็นบ่อย ปิดแอร์ ให้ขึ้นรถให้เต็มคันก่อนออกรถ ฯลฯ คล้ายๆ การ์ตูนเศรษฐกิจพอเพียงที่ออกแนวสั่งสอนให้ประหยัด อย่าใช้ของฟุ่มเฟือย ซื้อขนมใบตองดีกว่าขนมกรุบกรอบ (ประเด็นนี้ปรากฏในการ์ตูนทั้งสองแนว เรียกว่าทั้งเพียงพอทั้งโลกเย็น) เกษตรกรให้ทำการเกษตรไปทั้งชาติ อย่าหวังรวย ฯลฯ ไม่มีการ์ตูนสักเรื่องเลยที่เขียนขึ้นเพื่อจุดประกายจินตนาการของผู้อ่าน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเด็กและเยาวชน ให้พวกเขามีความคิดคำนึงถึงโลกร้อนในระดับปรัชญา หรือเข้าใจโลกร้อนในระดับนโยบาย อันที่จริงการจุดประกายจินตนาการเป็นหน้าที่ของการ์ตูน การสั่งสอนจึงเป็นหน้าที่ของแบบเรียนสังคมศึกษา

"การสั่งสอนเป็นวิธีที่ไม่ได้ผลกับเยาวชนและประชาชน นอกจากไม่ได้ผลยังอาจจะตอกย้ำความเหลื่อมล้ำในสังคมให้มากขึ้น แล้วนำไปสู่ความเฉยเมยเรื่องโลกร้อนในที่สุด ทำไมเราต้องปิดแอร์ทนร้อนในขณะที่คนรวย ข้าราชการ และนักการเมืองใส่สูทเปิดแอร์ เป็นไปได้อย่างไรที่เราจะขึ้นรถเพื่อนบ้านให้เต็มคันเพื่อไปทำงาน จะซื้อขนมห่อใบตองได้อย่างไรถ้าข้าวเกรียบรวยเพื่อนอร่อยกว่าเป็นไหนๆ (ประเด็นนี้ยังน่าสงสัยอยู่ว่าขนมแบบไหนราคาแพงกว่ากัน) อันที่จริง เราควรให้ความรู้แก่สังคมและประชาชนในเรื่องระดับนโยบายมากกว่าการสั่งสอนให้แต่ละคนปิดแอร์ เช่น นโยบายประหยัดพลังงาน นโยบายเรื่องขนส่งมวลชน นโยบายเรื่องภาษีขยะ นโยบายนิคมอุตสาหกรรม เป็นต้น"

จริงๆ แล้วบทความนี้มี topic ที่น่าสนใจอีกประการคือ (ขอสรุปเอาเองมั่วๆ นะ) ให้หิ้วถุงโลกร้อนกันให้ตาย ก็คงช่วยโลกไม่ได้ ถ้านโยบายรัฐไม่โฟกัสมาที่เรื่องสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง โจมตีมันอย่างจริงจัง  (อย่างเช่นที่หลวงท่านจัดการกับยาเสพติดด้วยนโยบายฆ่าตัดตอน-ขอโทษนะ จำชื่อที่ มท.๑ อยากให้เรียกไม่ได้) ใครสนใจก็ไปหาอ่านกันเองนะ สารคดีคงไม่ขายดีจนหมดแผงหรอก

ว่าแต่ว่า เรื่องนั้นน่ะ จะโทษกรรมเก่าดีไหม ที่รัฐบาลจากการเลือกตั้งของเรานอกจากไม่มีวิชั่นในเรื่องนี้แล้ว ยังมัวแต่หัวซุกหัวซุนเอาตัวรอด...ให้เห็นเป็นภาพที่แสนจะน่าสมเพชเวทนา

มีรัฐบาลที่พึ่งไม่ได้อย่างนี้แล้วเราจะทำยังไงกันดีละเนี่ย???

32 ความคิดเห็น:

  1. อ่านแล้วนึกถึงความคิดของคนใหญ่คนโต ที่ว่าตัดเสื้อม่อฮ่อมให้บรรดาผู้หลักผู้ใหญ่ใส่แทนสูท
    แนวคิดแต่ละอย่างที่โฆษณาออกมาล้วนแต่ผลาญภาษีราษฎร

    เง้อ....แค่ออกซิเจน บางคนเค้ายังสูดหายใจเข้าไปมากกว่าเราเลยค่ะพี่ม้อย หุหุ

    ตอบลบ
  2. คนเราสมัยนี้ทำตามกระแส มากกว่าทำตามความเข้าใจ ไม่ได้อยู่ในจิตสำเหนียก
    บางเรื่องไร้สาระมาก ยังโยงโลกร้อนมาเกี่ยวได้
    การลดใช้ถุงพลาสติกเป็นอะไรใกล้ตัวที่ทำได้เอง
    การใช้ถุงผ้าก็เหมือนกัน แต่ที่เห็นส่วนใหญ่เอาถุงพลาสติกไปใส่ในถุงผ้า
    แล้วมันจะมีอะไรดีขึ้นไหมเนี่ย

    ตอบลบ
  3. ไม่น่าเชื่อว่าคนกลุ่มหนึ่งที่ใช้ชีวิตอยู่ใกล้สื่อและข่าวสารขนาดนี้
    (ที่ทำงานเดี๊ยนเอง) ยังไม่เห็นใครสักกี่คนที่มีความตระหนักต่อการใช้ทรัพยากรฟุ่มเฟือยเลย
    เห็นได้จากการปริ๊นท์งาน กระดาษใช้แล้วหน้านึง คนนี้นี่เค้าไม่ใช้ต่อนะคะคุณ
    เห็นมีแต่เดี๊ยนกับหัวหน้า และคอกข้างๆ อีกคอกเท่านั้น ที่พยายามเอามาใช้ใหม่
    ยิ่งฝรั่ง (สัญชาติอังกฤษ) ยิ่งไม่น่าเชื่อ เค้าเคยสั่งปริ๊นท์งาน (ที่ออฟฟิศใช้ปริ๊นเตอร์ด้วยกัน) แล้วมาเจอกระดาษใช้แล้วหน้าเดียวที่ดิฉันเอาไปใช้ใหม่ เค้าฉีกทิ้งต่อหน้าต่อตากันทันที
    ทั้งๆ ที่มันก็แค่การปริ๊นท์ต้นแบบมาอ่าน

    ในห้องน้ำหญิงนะ ไม่เห็นจะมีใครช่วยกันประหยัดน้ำประหยัดทิชชูกันบ้าง แปรงฟันทีก็เปิดน้ำไปด้วย
    จะจับสอนกันทุกคนก็แสนจะเกรงใจ (แค่ด่าคนกินข้าวกล่องโฟมว่าทำไมไม่รู้จักเอากล่องอาหารไปใส่ พวกมันก็เกลียดชั้นจะแย่อยู่แล้ว)

    นี่ยังไม่ได้พูดเรื่องอุณภูมิแอร์ที่ข้างนอกร้อนเป็นนรกยังไงกูไม่สนใจ
    ข้างในขอหนาวไว้ก่อน หนาวจนนิ้วมือนิ้วตีนเขียวกระดิกไม่ได้แล้วเนี่ย

    You think you own whatever land you land on
    มีเงินจ่ายค่าไฟแล้วแปลว่าเป็นเจ้าของพลังงานไฟหรอวะ?
    (โทดที วันนี้วันคุ้มครองโลก วิญญาณโพคาฮอนตัสเข้าสิง)

    ตอบลบ
  4. แต่ก็เห็นวัยรุ่นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสาวๆ สมัยนี้พยายามช่วยโลกอยู่นะเจ้
    เห็นโลกร้อน เลยพยายามใส่เสื้อผ้ากันน้อยชิ้น หรือเลือกเสื้อผ้าที่ใช้เนื้อผ้าไม่มากมาใส่กัน

    เห็นแล้วร้อนแทน...

    ตอบลบ
  5. มนุษยร์ เรานี่สติปัญญาไม่เท่ากันน่ะ พี่ม๊อยส์ พวกเราตระหนักเรื่องโลกร้อนดี เพราะต้นทุนเราแต่ละคนสูงมาก
    เราอ่านหนังสือดีๆมากมาย ดูรายการทีวี ค้นข้อมูลจากอินเตอร์เนต ดูหนัง ไปต่างประเทศ
    แต่อีกหลายๆ คนไม่มีทีวีดู ใช้คอมพิวเตอร์ไม่เป็น ไม่รู้เรื่องวิทยาศาสตร์ เพราะไม่เคยเรียน
    บางคนกระทั่งยังไม่รู้ว่าพรุ่งนี้จะมีข้าวกินได้อย่างไร เราจะทำให้คนเหล่านี้ซึ่งเป็นคนส่วนมากในประเทศไทย
    รู้จักช่วยโลกร้อนได้อย่างไร
    ในเมื่อเขายังช่วยตัวเองแทบไม่รอดเลย ชาวนามีหนี้สินท่วมหัว เพลี้ยกินข้าวรอบนี้ก็ เอาปืนยิงตัวตายแล้ว

    สื่อทางทีวี ป้ายโฆษณา อะไรที่เข้าใจง่ายๆ สั้นๆ น่าจะพอช่วยได้ สำหรับคนทุกคน
    จะให้ลึกไปถึงนโยบาย คงเข้าถึงได้เฉพาะบางคนเท่านั้นแหละ ละครทีวี ดารา นักร้อง
    บุคคลเหล่านี้ ประชาชนให้ความสนใจเป็นอย่างดี แต่ ณ ปัจจุบัน คนของประชาชนเหล่านี้
    ได้ทำอะไรเป็นตัวอย่างบ้างรึยัง หรือ แค่เพียงตอนที่เขาจ้างเท่านั้น ทุนวิจัยบางโครงการยังน้อย
    กว่าค่าตัวดารา นักร้อง มาเครื่องดื่มจากขวดพลาสติกซะอีก

    ส่วนนายฝรั่งของพี่ม๊อยส์นั้น เข้าหลัก ไม้แก่ดัดยาก คงต้องปล่อยให้แกไป เราควรสนใจเด็กรุ่นใหม่มากกว่า
    คนอายุมาก ยิ่งคนที่กินเหล้าเยอะ เซล สมองก็เสียไปเยอะ ไปสอนเขา ไม่ค่อยฟังหรอก

    ถุงผ้า เป็นการเริ่มต้นที่ดี เป็นการเริ่มอะไรที่ง่ายๆก่อน
    จากนั้น ค่อยเป็นกล่องข้าว กระดาษรีไซเคิล ขยับเป็นขันบันไดไป .

    แต่ทุกวันนี้ เรายังมีโฆษณามากมาย ให้ใช้ผลิตภัณฑ์ที่ บริษัทต่างๆทุ่มงบประมากมหาศาล
    ในการพัฒนา และการโฆษณา รู้สึกว่าความฝันมันจะสวนทางกับความจริง นะ

    ตอบลบ
  6. ชั้นก็เคยสงสัยอยู่บ่อยๆว่า ใช้ถุงผ้า ช่วยโลกร้อน ยังไงว่ะ
    เป็นปริศนาที่แก้ไม่ออก

    ใช้ถุงผ้า จนเดี๋ยวนี้ชั้นมีถุงผ้าเต็มไปหมดแล้ว
    และคนอื่นๆก็คงเหมือนกัน
    แต่ถุงพลาสติกก็ยังใช้กันเท่าเดิม

    พยายามมองว่ามันเป็นกระแสที่อย่างน้อยก็ทำให้คนหันมาสนใจ แม้ฉาบฉวยแต่ก็ยังดี
    เป็นการเริ่มต้นแล้วขั้นต่อไปก็ต้องให้ข้อมูลให้มากขึ้น ชักชวนให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
    พยายามอำนวยความสะดวกให้ เอื้อประโยชน์ให้ สร้างแรงจูงใจ เช่น ไม่เอาถุงพลาสติกจะได้ลดราคากี่บาท ซื้อน้ำไม่เอาแก้ว ไม่เอาขวด จะได้ลดกี่บาท หรือไปเดินห้างซื้อของ หยิบกระดาษหรือขวดเปล่าที่บ้าน ไปขายที่เค้าน์เตอร์ ก็ได้เงิน

    แต่ค่านิยมคนเรามันก็เปลี่ยนยากนะแก
    อย่างชั้นพยายามใช้รถให้น้อยที่สุด ประชาชนรอบข้างก็มองว่ามึงจะหาเรื่องลำบากตัวเอง ไปยืนหน้าดำรอรถตู้ รถเมล์ทำไมว่ะ จะงกค่าน้ำมันคุ้มกับค่ารักษาฝ้าไหม
    หรือตัวชั้นเองระหว่างปาดเหงื่อ ก็ต้องพยายามหักห้ามใจ อดทน
    แต่มันก็ต้องเริ่มที่ตัวเองนี่แหละ

    ตอบลบ
  7. หนูนา>>พี่ว่าไม่ใช่เรื่องสติปัญญา แต่เป็นเรื่อง information เราได้รับข้อมูลข่าวสารมาก ก็ย่อมรู้มาก คนไม่มี information ก็ไม่รู้ ไม่ได้แปลว่าเค้าไม่ฉลาด

    คนไม่รู้เรื่องก็แล้วไป แต่คนรู้มากแล้ว ignor ไม่ใช่ action นี่สิ
    ใจร้ายนะ พี่ว่า

    ฝรั่งที่มาทำงานเมืองไทย พี่พบว่ามีน่ารักจริงๆ น้อยนะหนูนา ก็ไม่ได้เกลียดฝรั่งหรอก แต่ไม่รู้ว่าทำไม attitude แบบอาณานิคมมันยังไม่เสื่อมไปจากความทรงจำของเขาเสียที (ทั้งๆ ที่เราก็ไม่เคยเป็นอาณานิคมของใครซะหน่อย) มาอยู่เมืองไทย แต่ปฏิบัติตัวกับคนไทยเหมือนคนไทยเป็นพลเมืองชั้นสอง อย่างนี้มันน่าให้อยู่ด้วยไหมก็ไม่รู้

    ป้าอ้อย>>เห็นด้วยเรื่องแรงจูงใจ ตอนนี้เซ็นทรัลเริ่มทำกับแผนกเครื่องสำอางแล้ว ลูกค้าที่ไม่รับถุงจะได้ส่วนลด (เท่าไหร่จำบ่ได้) 7-11 หน้าตึกน้องก็เริ่มติดป้าย "ไม่ต้องการถุงโปรดแจ้ง"

    จริงๆ น้องว่าพวกป้าๆ ที่ขายข้าวกล่องก็ทำได้ ถ้าน้องเอากล่องข้าวสเตนเลสไปใส่อาหาร เค้าน่าจะแถมไรให้น้องนิดๆ หน่อยๆ เพื่อให้น้องเอากล่องไปใส่อีกในครั้งต่อไป ป้าก็จะได้ประหยัดค่าถุงพลาสติก ค่ากล่องโฟม
    ตอนนี้น้ำเต้าหู้เจ้าประจำก็จำได้แล้วว่าเห็นหน้าน้องต้องตักให้เต็มขวด แล้วเช็ดขวดให้ด้วย
    เห็นไหมว่าซื้อเขาแบบนี้บ่อยๆ คนขายเค้าก็ชินเอง

    น้องว่า ถ้าเราคิดว่าเราพอทำอะไรได้ควรเริ่มทำ และไม่จำเป็นต้องเหนียม เพราะว่าเราไม่ได้ไปขอเค้ากินฟรี แล้วของที่เราหิ้วไป เราก็หิ้วเอง ไม่ได้ให้ใครช่วยหิ้วให้

    ถูกที่สุดเลยละป้า เรื่องต้องเริ่มที่ตัวเองเนี่ย
    มีลูกสอนลูก ไม่มีลูกก็... ก็อะไรดี

    ป.ล. บางทีการมีลูกอาจทำให้โลกร้อนก็ได้นะ ใครจะไปรู้

    ตอบลบ
  8. เป็นบล็อกและการออกความเห็นที่ดีครับ

    ตอบลบ
  9. แจมกันได้นะคะ
    ยินดีเสมอ

    ตอบลบ
  10. พี่ว่าเราเริ่มจากตัวเรา ครอบครัวเราเองก่อน
    ส่วนคนอื่นเราคงไปคาดหวังอะไรไม่ได้หรอก

    ป.ล.ฝากตบกบาลฝรั่งที่ออฟฟิตด้วย

    ตอบลบ
  11. อันนี้นึกถึงเรื่องเล่าของพี่คนหนึ่ง (อาจจะเป็นพี่หนึ่งก็ได้)

    แกว่า ครั้งหนึ่งนั่งรถไฟ เห็นยายคนหนึ่งเก็บถุงพลาสติคที่อยู่บนพื้น แล้วทิ้งไปทางหน้าต่าง
    หลานถามว่าทำไมทำงั้น
    ยายว่า รถจะได้สะอาดไง

    พี่คนนั้นตั้งข้อสังเกตว่า บางทียายแกไม่รู้ว่าถุงพลาสติคนะ ต่างกับใบตองที่แกเคยใช้ยังไง แกไม่รู้ไง แต่เจตนาแกดี



    ซึ่ง โยงไปอีกเรื่อง อันนี้รู้สึกจะมาจาก อ.เสก
    แกว่า ให้สังเกตเหอะ คนขับรถนะ บางทีพอจะเลี้ยว ไฟเลี้ยวไม่เปิดหรอก แต่จะให้วิธีโบกมือแทน
    อันนี้ ประมาณว่า เรารับแต่เทคโนโลยี แต่ไม่รับวิธีการและวัฒนธรรมการใช้มาด้วย

    ตอบลบ
  12. ไม่ว่ะเอ็ง
    ค่ากล่องถูกกว่าที่ไปลดให้ลูกค้าแน่ ป้าไม่น่าจะมีแรงจูงใจอะไรให้ทำอย่างนั้น

    ข้าว่ารัฐเก็บภาษีเลยดีกว่า ทำให้การใช้กล่องโฟมมีต้นทุนสูงขึ้น

    ตอบลบ
  13. ไม่ถามเขาล่ะว่าทำไม

    ในสารคดีเล่มนั้น มีสัมภาษณ์อาจารย์อานนท์ แกพูดว่า อาจต้องยอมให้โลกร้อนขึ้นนิด เพื่อจัดการกับปัญหาเฉพาะหน้าที่รุนแรงกว่า

    บางทีปัญหาความไม่เข้าใจกันเพราะไม่ได้คุย อาจถือเป็นปัญหาเฉพาะหน้าที่รุนแรงก็ได้

    ตอบลบ
  14. ผมปั่นรถถีบ ไปทำงานคร้าบ ลดพลังงานโลก เพิ่มพลังงาน ตัวเอง

    ตอบลบ
  15. เรื่องนี้ sentimental มาก

    ตอบลบ
  16. จริงๆ รัฐบาลน่าจะทำอะไรๆๆๆๆๆๆ
    ตั้งหลายอย่าง ตั้งนานแล้ว
    เบื่อจะบ่น

    ตอบลบ
  17. ไม่ถาม เกลียดมัน ไม่อยากคุยด้วย
    (เห็นไหมว่าเราเกลียดกันไปมา)

    ส่วนบทสัมภาษณ์อาจารย์อานนท์ขอกลับไปอ่านก่อนนะ

    ตอบลบ
  18. มันอาจเกี่ยวกับว่า การเปลี่ยนพฤติกรรมของเรา เช่น ใช้ถุงผ้า ถึงที่สุดมันช่วยอะไรไม่ได้ (ในภาพรวม..แต่ไม่ใช่ว่าไม่ควรทำ) ถ้าจะแก้ปัญหานี้จริง อาจต้องปรับเปลี่ยนอะไรอีกหลายอย่าง ซึ่งบางทีมันเกินจะรับได้ด้วยจิตอาสาธรรมดา แต่อาจต้องบังคับกันมากๆ

    เช่น ปัญหาโลกร้อน อาจโยงไปเกี่ยวกับเรื่องความยากจนซึ่งโยงต่อไปเรื่องการจัดสรรทรัพยากร ซึ่งโยงไปเรื่อยๆ จนถึงที่สุดอาจไปจบที่ว่ามันต้องปฏิรูปที่ดิน จัดการระบบภาษีใหม่ ทั้งเรื่องภาษีมรดก และ ภาษีทรัพสิน

    พลังงานราคาถูกไม่มีอีกต่อไป ภาษีรถยนต์ ภาษีต่อทะเบียนก็ต้องจ่ายสูงขึ้น เพราะ ในเมืองมีทางเลือกเรื่องการขนส่งมวลชน และจะได้เอาเงินไปอุดหนุนขนส่งสาธารณะ ฯลฯ

    ถ้ายอมรับตรงนั้นได้ก็คงดี ซึ่งก็เหมือนที่เอ็งว่าไง ว่ามันต้องไปเรื่องนโยบาย และให้ข้อมูลที่เชื่อมโยงได้

    ตอบลบ
  19. ไอ้กร
    อย่าเอาแต่พูด
    เอ็งสมควรสมัครลงการเมืองท้องถิ่นได้แล้ว

    ตอบลบ
  20. เกี่ยวอะไรกับโลกร้อน

    ตอบลบ
  21. เป็นหัวข้อที่ ต่อกันไปมา ทะเลาะกันแน่ๆ นี่ก้อเกือบละ มันมีอารมร่วม

    ตอบลบ
  22. อดไม่ได้อะนะ เอ้อออ สื่อที่เข้าได้ทุกเพศทุกวัย ก้อไม่ได้พยายามส่งสารไปอย่างยั่งยืนเล่นทำตามฮิตเห่อๆกันไป จะไปฝากอะไรในองค์ความรู้คนรุ่นเก่าได้ และจะโดนบันทึกจดลงในสำนึกได้อย่างไร ชีวิตทุกวันนี้ยังทำได้มั่งไม่ได้มั่งอยู่เลย แต่แค่ได้มีคนทำบ้าง ก้อดีมากละ

    ตอบลบ
  23. ก็ลงไปมีส่วนปรับแต่งทิศทางของนโยบายสิ่งแวดล้อมของเกาะไงเอ็ง
    ดีกว่าเอาแต่หิ้วปิ่นโตไปซื้อข้าว ปิดไฟ หิ้วถุงผ้า ประหยัดน้ำมัน
    แล้วก็เอาแต่บ่นกันอยู่ในโลกออนไลน์อย่างนี้ป่าว

    ตอบลบ
  24. ใช่คุณต่าย เราก็แค่หวังว่าคนที่รู้ข้อมูล จะช่วยกันคนละไม้มือ
    ไอ้เรื่องหวังกับคนอื่น เราไม่อยากหวังแล้ว

    ดิฉันกับเพื่อนคุยกันก็โหดอย่างนี้แหละ
    แต่นี่ยังไม่ได้เริ่มทะเลาะกันเลยนะเนี่ย
    ฮี่ ฮี่

    ตอบลบ
  25. ไม่เหมาะ

    เหมาะกับการบ่นไปเรื่อยๆมากกว่า

    ตอบลบ
  26. ไอ้เอาแต่บ่นนี่มันจะดีหรอ
    เด๋วก็กลายเป็น "เห่าไป-บ่นไป"
    เหมือนใครบางคนหรอกเอ็ง

    ตอบลบ
  27. คุณม้อย พิมพ์มาช่วยโลกดับร้อนกับคุณม้อยด้วยดีกว่า ก่อนอื่นพิมพ์ไม่ขับรถ ไม่คิดจะซื้อรถด้วยช่วยประหยัดน้ำมัน นั่งรถรับส่งของบริษัทไปทำงาน สองจะพยายามเอากล่องข้าวไปตอนซื้ออาหารตอนเช้า สามเวลาซื้อของถ้ามีถุงพลาสติกจะเก็บใส่กระเป๋าไว้ เวลาไปซื้อของจะได้ไม่ต้องเอาถุงพลาสติกอีก สี่เปิดแอร์ที่บ้านให้อุณภูมิร้อนขึ้นอีกสักสององศาจะได้ประหยัดพลังงาน และถ้าไม่ร้อนจะใช้พัดลมแทน ห้าแปรงฟันใช้แก้วน้ำ (ซึ่งทำอยู่แล้วค่ะ) หก ประหยัดกระดาษถ้าไม่จำเป็นไม่ปริ๊น และจะปริ๊นโดยใช้กระดาษรีไซเคิ้ลเท่านั้น เจ็ด จะป่าวประกาศให้เพื่อนๆที่ทำงานทำด้วย เอาให้ได้มากที่สุด ไม่อยากให้เราต้องมาตายเร็วเพราะความร้อนเลย ฮือๆๆๆๆ

    ตอบลบ
  28. ลืมบอกไปค่ะ พิมพ์ทำงานโรงงานนะ ที่โรงงานมีนโยบายประหยัดพลังงานน่าสนใจมาก พักเที่ยงปิดไฟเกือบทั้งโรงงาน พนักงานกินข้าวเสร็จปูเสื่อนอนหละ เชื่อไม๊ สองมีการแยกขยะด้วยค่ะ เราขายมันทุกอย่างที่ขายได้เพื่อเอากลับมาใช้ใหม่ สามเรามีนโยบายสิ่งแวดล้อม เราจัดสิ่งแวดล้อมที่ทำงานให้น่าอยู่และพยายามใช้เครื่องเขียนกันอย่างประหยัดที่สุด แอบดีใจที่เรามีการทำงานเพื่อสิ่งแวดล้อมผ่านนโยบายของบริษัทที่ดี

    ตอบลบ
  29. ขอภูมิใจในที่ทำงานของคุณพิมพ์ด้วยคน

    ม้อยว่าถ้าที่ทำงานมีนโยบายอย่างนี้จะทำให้พนักงานมีความรู้ เข้าใจว่าทำอะไรอยู่ มีความตระหนักว่าจะต้องช่วยกันคนละไม้ละมือ แล้วก็รู้ว่าถ้าทำแล้วจะประหยัดได้ไง
    สุดท้ายพนักงานก็จะเอากลับไปทำที่บ้านด้วย

    (บริษัทญี่ปุ่นใช่ไหมคุณพิมพ์)

    ดีใจด้วยที่คุณพิมพ์เอากล่องไปใส่อาหาร เคยไปสัมภาษณ์อาจารย์ที่ ม.เกษตร แกทำผลิตภัณฑ์บรรจุอาหารรูปร่างคล้ายภาชนะโฟมที่ย่อยสลายได้ เพราะทำจากแป้งมันสำปะหลัง อาจารย์เล่าให้ฟังว่า ภาชนะโฟมมันไม่เหมาะจะบรรจุของร้อน เพราะความร้อนจะทำให้โครงสร้างของมันหลุดละลายมาปลอมปนกับอาหาร
    แล้วเราก็กินลงไป

    (แล้วเราก็อาจจะเป็มะเร็ง)

    คนที่รู้ว่าโฟมกว่าจะย่อยสลายตามธรรมชาติต้องใช้เวลาเป็นร้อยๆ ปี แถมยังมีพิษอย่างนี้ก็ไม่รู้ว่ายังยอมกินอาหารในภาชนะโฟมกันอีกไหม

    แล้วถ้าเราปฏิเสธภาชนะโฟมกันมากๆ พวกแม่ค้าจะปรับตัวไหม

    อยากเห็นพลังดีมานด์จากผู้บริโภคเปลี่ยนซัพพลายจากแม่ค้าจังค่ะ คุณพิมพ์

    ตอบลบ
  30. การตลาดน่ะครับ แล้วรู้มั๊ยว่าหนังสือ an inconvenient truth ฉบับแรกเิริ่มเดิมทีของ สนพ.มติชนเล่นจะหลายตังค์แน่ะ แต่ผมก็ซื้อมาเหมือนกัน ไม่รู้เพราะอะไร?

    ตอบลบ
  31. เพราะว่าคุณชอบซื้อหนังสือไง

    แต่เราไม่ได้ซื้อเล่มนั้น
    ฮ่าฮ่า

    ตอบลบ